วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ภาพสะท้อนสังคมทุนนิยมกับสังคมไทย








ในจุลสารฉบับสุดท้ายมีบทความพิเศษเรื่อง "ผลกระทบของนโยบายประชานิยมที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทย" ที่เขียนโดย "วินัย ผลเจริญ" นักศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเสนอ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลรายงานชี้ว่า นโยบายประชานิยมมีวิวัฒนาการ จากการเคลื่อนไหวของขบวน การประชาชนถึงการที่รัฐบาลกำหนดนโยบายแบบเอาใจประชาชนเพื่อผลประโยชน์ในการได้รับการเลือกตั้ง และเมื่อได้รับเลือกตั้งแล้ว ดำเนินนโยบายนั้นต่อไปเพื่อรักษาฐานอำนาจไว้ โดยสามารถทำให้ทั้งกลุ่มทุนที่สนับสนุนรัฐบาลและประชาชนทั่วไปพึงพอใจ คือประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนแหล่งสินเชื่อ แต่การเข้าถึงแหล่งทุนนั้นเป็นการเข้าไปแบบเสียเปรียบ เพราะโดยทั่วไปทุนหรือธุรกิจย่อมมีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดกำไรได้มากกว่าประชาชน ประชาชนจึงตกเป็นเครื่องมือของทุนนิยมและบริโภคนิยม กลายเป็น "ทุนติดลบ" มีหนี้สินมากมาย ซึ่งทำให้ต้องขึ้นต่อการอุปถัมภ์ของรัฐบาลต่อไป
"วินัย ผลเจริญ" นำเสนอผลกระทบอย่างตรงประเด็นว่า การที่ระบบการเมืองแบบผู้แทนถูกสถาปนาขึ้นมาในสังคมที่คนส่วนใหญ่ยากจนและด้อยโอกาสนั้น แน่นอนที่สุดอันดับแรกย่อมหมายถึงการแข่งขันทางการเมืองที่กระจุกตัวแคบอยู่ในหมู่ชนชั้นนำ ซึ่งมีเงื่อนไขทางเศรษฐกิจมากพอที่จะขึ้นสู่เวทีอำนาจได้ ส่วนประชาชนชั้นล่างเป็นได้อย่างมากที่สุดคือฐานความชอบธรรม (legitimacy) ของกระบวนการเลือกตั้ง ถ้าต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้นบ้างก็อาจเอาตัวเองไปผูกโยงกับเครือข่ายอุปถัมภ์ต่างๆ ซึ่งมิได้มีที่ว่างสำหรับทุกคน และยิ่งไม่ได้สะท้อนภาพระบอบการเมืองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าโครงการประชานิยมต่างๆ นั้นเอื้อต่อการเติบโตของวัฒนธรรมบริโภคนิยมและทำให้ประชาชนติดอยู่ในวังวนแห่งหนี้สิน เป้าหมายที่รัฐบาลต้องการจะขจัดความยากจนให้หมดสิ้นไปจึงไม่อาจเกิดขึ้นจริงได้ง่าย โดยเฉพาะการกระจายรายได้มิได้ดีขึ้นเลย ในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมายังมีความเหลื่อมล้ำกันมาก และเกือบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย กล่าวคือ "กลุ่มคนรวยสุด 20% สุดท้ายมีส่วนแบ่งรายได้รวมกันเกินครึ่งของรายได้ทั้งหมด ในขณะที่คนส่วนใหญ่ 60% ของประเทศมีส่วนแบ่งรายได้เพียง 1 ใน 4 ของรายได้ทั้งหมดเท่านั้น" "และถ้าแบ่งกลุ่มประชากรให้เล็กลงเหลือ 10% แรกที่รวยกับ 10% หลังที่ยากไร้ ก็จะพบว่าพวกเขามีรายได้ต่างกันถึง 27 เท่า" และหากพิจารณาเป็นรายคน คนที่รวยที่สุดกับคนที่จนที่สุดมีรายได้ห่างกันหลายล้านเท่า ผลจากนโยบายประชานิยมทำให้กลุ่มธุรกิจมีการสะสมทุนได้มากยิ่งขึ้น กลุ่มธุรกิจเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองอย่างใกล้ชิด การที่ประชาชนนิยมบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยมากขึ้น โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ
ด้วยอิทธิพลการโหมโฆษณาของสื่อต่างๆ จะทำให้กลุ่มทุนที่ทำธุรกิจด้านนี้ได้กำไรอย่างมากในระยะเวลาที่ต่อเนื่องยาวนาน เป็นที่ทราบกันว่ากลุ่มทุนสื่อสารโทรคมนาคมนั้นก็คือ กลุ่มที่กำลังคุมอำนาจทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจอยู่ในปัจจุบัน เงินของประเทศที่ลงไปอยู่ในมือของประชาชนจากนโยบายประชานิยมต่างๆ นั้น ในที่สุดจะมิได้ทำให้ประเทศชาติมั่งคั่งขึ้นมากไปกว่าความมั่งคั่งของกลุ่มทุนที่สนับสนุนรัฐบาลเลย นโยบายประชานิยมของรัฐบาลจึงเป็นแบบที่ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์ เรียกว่า "pluto- populism" ซึ่งผู้เขียนขอเรียกว่าเป็นนโยบาย "ช่วยคนจนเพื่ออุ้มคนรวย"  ความจริงนโยบายที่ช่วยคนรวยโดยตรงก็มี เช่น กรณีการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ขึ้นมาจัดการหนี้เสียของสถาบันการเงิน บรรษัท ก็ทำงานเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเงินในเครือชินวัตร เช่น ธนาคารทหารไทยอย่างมาก ข้อควรคำนึงก็คือ "โครงการที่รัฐบาลไทยรักไทยทำแบบเงียบๆ ใช้เงินอุดหนุนและเอื้อประโยชน์นายธนาคาร นายทุนใหญ่นั้นมีมากกว่าที่เอามาช่วยคนจนหลายสิบเท่า แต่ไม่ได้ประชาสัมพันธ์เท่ากับโครงการช่วยคนจน" นโยบายดังกล่าวมิใช่สิ่งที่ประชาชนทั่วไปสามารถมองเห็นได้ชัด เพราะการดำเนินนโยบายหลายอย่าง ประชาชนอาจจะมองได้ว่า นั่นเป็นอีกทางหนึ่งที่ต้องดำเนินไปพร้อมกันเป็นแบบ "รางคู่" หรือ "dual track" ที่รัฐบาลประชาสัมพันธ์อยู่นั่นเอง
หรืออีกนัยหนึ่งคือเกิดการบูรณาการของส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน คือ 1) การบูรณาการภาคประชาชน ด้วยนโยบายประชานิยมและโครงการเอื้ออาทรต่างๆ 2) การบูรณาการภาคการเมือง ที่สามารถรวบรวมกลุ่มทุน และอิทธิพลท้องถิ่นเข้าอยู่ในพรรคได้มาก 3) การบูรณาการภาคการเมืองเข้ากับภาคราชการ 4) การบูรณาการกับกลุ่มทุนใหญ่ต่างๆ และ 5) การบูรณาการทุนหรือการเปลี่ยนทั้งประเทศให้เป็นทุน โดยการแปลงชนบท และคนจนให้เป็นทุนบริโภคแปรทรัพยากร หรือทรัพย์สินรัฐให้เป็นทุนและทำให้คุณธรรมศีลธรรมเป็นทุน
อาจสรุปผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินนโยบายประชานิยม ทั้งที่เป็นผลกระทบทางเศรษฐ กิจ ทางสังคม/วัฒนธรรม และทางการเมืองว่า จะทำให้ประชาชนมีหนี้สินเพิ่มขึ้น ไม่สามารถหลุดพ้นวงจรหนี้สิน นั่นคือไม่อาจหลุดพ้นจากความยากจนได้ การบริโภคมากมีส่วนทำให้กลุ่มธุรกิจที่สนับสนุนรัฐบาล มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลมั่นคง และประชาชนก็ต้องขึ้นต่อรัฐบาลในรูปแบบของความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กับทุนนิยม ประชาชนจึงไม่มีอำนาจที่แท้จริง
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
น​โยบายประชานิยมกลาย​เป็น​เงื่อน​ไขสำคัญ​ใน​การ​เลือกตั้ง ที่ถูกนำ​ไป​ใช้​เป็นองค์ประกอบสำคัญ ​ให้​ผู้คนหันมาสน​ใจ​เทคะ​แนน​ให้พรรค​การ​เมือง ​และช่วย​ให้บรรดานัก​เลือกตั้ง​ทั้งหลายนำ​ไป​โฆษณา​เกทับ ปลั๊ฟฟ์​แหลกกัน​ในพื้นที่ ​ในระหว่างตระ​เวนหา​เสียง สภาพที่​เกิดขึ้น​เช่นนี้​ทำ​ให้พรรค​การ​เมือง​ไทย ​ไม่มี​ความ​แตกต่าง​เชิงน​โยบาย​และอุดม​การณ์ทาง​การ​เมืองอย่าง​แท้จริง ทุกพรรค​การ​เมืองต่างกลายสภาพ​เป็นปีศาจประชานิยม​ไป​โดยปริยาย!
ในสนาม​เลือกตั้งพรรค​การ​เมืองสน​ใจชัยชนะมากกว่าสิ่งอื่น​ใด ทุกคน ทุกพรรคต่างหาทาง​ทำทุกวิถีทาง​เพื่อที่จะชนะ​เลือกตั้ง ​การ​ทำ​ให้ตัว​เอง​และพรรค​ได้รับชัยชนะ​จึง​เป็นภารกิจหลักของพรรค​การ​ เมือง​และนัก​เลือกตั้ง​ทั้งหลาย ​ไม่มี​การคำนึง​ถึง​ความถูกต้อง จริยธรรมทาง​การ​เมือง ​ความก้าวหน้าของ​ผู้คน สังคม ​และประ​เทศชาติ ในฤดูกาล​แห่ง​การหา​เสียง​เลือกตั้ง ​เรา​จึง​เห็นป้าย​และ​การ​โฆษณาหา​เสียงของพรรค​การ​เมือง มีสภาพ​เดียวกับบริษัท ห้างร้าน ​หรือภัตตาคาร​ทั้งหลาย บางพรรค​แทบ​ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า​เป็นพรรค​การ​เมือง นึกว่า​เป็นร้านขายรถยนต์ ​เช่น ป้าย​โฆษณาที่​เสนอน​โยบาย "รถยนต์คัน​แรก ลด 100,000 บาท" ข้อ​เสนอน​โยบาย​แบบนี้นับว่า ​เลอะ​เทอะ ​ได้ที่สุดๆ ​แล้ว การนำ​เสนอน​โยบายของพรรค​การ​เมือง​ไทย​ได้มีผล​ให้ องค์กรที่มีบทบาทด้าน​เศรษฐกิจระหว่างประ​เทศอย่าง ธนาคารพัฒนา​แห่ง​เอ​เชีย ​หรือ​เอดีบี ​และธนาคาร​โลก ต่างออกมาวิ​เคราะห์วิจารณ์​เตือน​การ​เมือง​ไทยว่า ​ให้คำนึง​ถึง​ความ​เข้ม​แข็ง​และ​ความ​เป็น​ไป​ได้ทาง​เศรษฐกิจ ​ใน​การที่จะสร้าง​ความมั่น​ใจ​ให้สังคม​ไทยสามารถก้าว​ไปข้างหน้าอย่างมั่น คง มี​เสถียรภาพยั่งยืน ​ผู้คนสามารถพึ่งพาตัว​เอง​ได้ ​ไม่​ใช่คอย​แต่จะพึ่งรัฐอย่าง​เดียว ​ซึ่ง​ในระยะยาวจะ​ทำ​ให้ประ​เทศชาติตกที่นั่งลำบาก อย่าง​ไร​ก็ดี อีก​ไม่กี่วัน​ก็จะ​ถึง วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ​ซึ่ง​เป็นวัน​เลือกตั้ง​แล้ว สังคมยังปรากฏ​ให้​เห็น​การคุกคาม​ใน​การหา​เสียง​เลือกตั้งจาก "กลุ่มคน​เสื้อ​แดง" ที่กระ​ทำต่อพรรค​การ​เมืองที่ตน​ไม่ชอบ​ใน​แบบต่างๆ อยู่ตลอด​เวลา นับ​เป็นพฤติกรรมที่​ไม่สร้างสรรค์ ​ทำลาย​ความปรองดอง ​และขัดขวาง​การพัฒนา​ในระบอบประชาธิป​ไตยอย่างยิ่ง มีผล​ให้​การพูด​ถึง​ความปรองดอง ​ความกระตือรือร้นของ "ปูยิ่งลักษณ์" ​ผู้สมัครปาร์ตี้ลิสต์​เบอร์ 1 ของพรรค​เพื่อ​ไทย ที่​เอ่ยอ้าง​ถึง​ความต้อง​การที่จะสร้าง​ความสงบ​เรียบร้อย ​ไม่มีน้ำหนักที่จะ​ทำ​ให้คนมีสติปัญญา​ในสังคม​เชื่อถือ คำพูด​และภาพที่ปรากฏ​จึง​เป็น​เสมือน "ละคร​การ​เมือง" ที่มี​การ​เดิน​เกม​ใต้ดิน​แบบคู่ขนานระหว่าง คน​เสื้อ​แดง กับ พรรค​เพื่อ​ไทย ตราบ​ใดที่ "คน​เสื้อ​แดง" ยัง​ไล่ล่า สร้าง​ความปั่นป่วน​ใน​การ​เลือกตั้ง​ใส่พรรคคู่​แข่ง! ​แม้จะ​ไม่รุน​แรงขนาด​เผาบ้าน​เผา​เมือง ​หรือ​ใช้กองกำลัง​ใต้ดิน ที่กระ​ทำ​ไปพร้อมกับสร้าง​เรื่องป้ายสีกองทัพ​และข้าราช​การ​แบบรายวัน อย่างที่​เคย​เกิดขึ้นมา​แล้ว​ก็ตาม สภาพ​การ​เมืองวันนี้​จึงมีสภาพที่​เลวร้าย มี​เพียง​ความหวังลมๆ ​แล้งๆ ที่คิดว่าหลัง​เลือกตั้ง​แล้วบ้าน​เมืองน่าจะดีขึ้น ​แต่​ใน​ความ​เป็นจริง​แล้ว สังคม​ไทย​โดยรวมกำลังถูกชักลาก​ให้ดำดิ่งสู่​ความอ่อน​แอ ​เลอะ​เทอะ ของฝูงปีศาจประชานิยม ถูกล่อลวง​แบ่ง​แยก​โดยจอมลวง​โลก ​และตกวนอยู่​ใน​ความรุน​แรง ​การข่มขู่ ​และ​การ​ใช้มวลชนคุกคาม​ความสงบสุขของสังคม ​โดยอาศัยภาพ​แสดง​แทนที่​เป็นสุภาพสตรี ที่มีบุคลิกอ่อน​โยน รัก​ความสงบ บูชา​ความ​เป็นธรรม เส้นทาง​เยี่ยงนี้มี​แต่หายนะ​เท่านั้นที่​เป็นปลายทาง ที่สังคมจะต้อง​เผชิญ การหมุนของกงล้อ​แห่งกรรม  ​หรือกง​เกวียนกำ​เกวียนทาง​การ​เมืองที่​เป็นผลต่อ​เนื่อง ยังคงสร้างวิกฤติ​ให้สังคม​ไทยต่อ​ไป ดุจจะ​แสดงว่าตราบ​ใดที่​การ​เมืองยัง​เน่า​เหม็น ย่อมมิอาจจะผลิต​ความหอมจากปฏิกูล​ได้ฉันนั้น ปัญหาม​โนทัศน์ของ​การ​แก้ปัญหาที่ปลาย​เหตุ มิ​ได้มองต้นตอ​แห่ง​ความ​เลวร้าย ทัศนะที่ยอมรับ​การ​เมืองสี​เทา รวม​ไป​ถึง​การ​แยก​ไม่ออกระหว่างลัทธิประชาธิป​ไตยกับลัทธิ​เสียงข้างมาก ที่สามานย์ ​ใน​เงื่อน​ไขนัก​การ​เมืองขาดจิตวิญญาณประชาธิป​ไตย​และมุ่ง​เข้ามา​ใช้ อำนาจ​แสวงหาผลประ​โยชน์​หรือคอรัปชั่น ​ทำ​ให้ประชาธิป​ไตย​ไทยกลาย​เป็นต้น​ไม้พิษที่ย่อมออกลูก​เป็นพิษต่อ​ไป อย่าง​ไม่สิ้นสุด
                การ​เลือกตั้งที่​แข่งขันกัน​แบบ​ไร้สติ ต้อง​การชัยชนะ​เพื่อ​เข้ากุมกล​ไกอำนาจรัฐอย่าง​เมามันคะนอง​ใจ ​โดย​ไม่คำนึง​ถึง​ความ​เป็น​ไป​ได้  กฎหมาย ​ความสัตย์จริง ​และ​ความรับผิดชอบต่อผลกรรมที่ต่อ​เนื่องสู่ประชาชน ​เศรษฐกิจ ​และสังคม​โดยรวม ​หรือที่​เรียกว่า "กรรมร่วม" ​ซึ่งจะตามมาด้วยวิบากกรรมร่วมนั้น ​จึง​เป็นผลพวงที่กำลังจะ​เกิดขึ้น​และ​เป็นชะตากรรมของประ​เทศ​ไทย อัน​เนื่องจากน​โยบายประชานิยม​หรือประชาวิวัฒน์ที่​ไร้สติ กรรมร่วมคืออะ​ไร? ​ในที่นี้ขออธิบาย​เพื่อ​ความ​เด่นชัด​ใน​การวิ​เคราะห์ผลกระทบของกรรมร่วม ทางสังคม จะ​ได้​เห็นมุมมองร่วมกัน ดังนี้
                ความ​เป็นสัตว์สังคม มีมันสมองที่คิด​ได้ สำนึกผิดชอบชั่วดี มนุษย์​จึง​เป็นส่วนหนึ่งของสังคม​แต่หน่วยย่อย ​แต่ละระดับ ​และ​เป็นส่วนหนึ่งของสังคม​โลก กรรม​หรือ​การกระ​ทำของบุคคล​จึงส่งผล​เป็นกรรมร่วมของสังคม​ไป จะ​โดยรู้ตัว​หรือ​ไม่​ก็ตาม ​เช่น ถ้ามนุษย์​แต่ละคนอ้าง​เสรีภาพ​ใน​การ​ทำลายป่า ​หรือพากันลักลอบ​ทำลายป่า ปริมาณกรรมของมนุษย์ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบนิ​เวศ ​การ​ทำลาย​จึงมีลักษณะ​เป็นกรรมร่วม ​และก่อ​ให้​เกิดวิบากกรรมร่วม​ได้ ใครคนหนึ่งมี​เงินทุน​เยอะ ​เป็น​เจ้าของบริษัท​การ​เกษตรขนาด​ใหญ่ ถือครองที่ดินนับ​แสน​ไร่ ​แม้จะอ้างสิทธิตามกฎหมาย​ใน​การลงทุนถูกต้อง​เพียง​ไร​ก็ตาม ​แต่คน​เพียงคน​เดียว​ก็​ได้สร้างผลกรรมที่​เป็นกรรมร่วมของสังคม​ใน​การ ผลิตพืชผลมหาศาล​ให้สังคม ขณะ​เดียวกันยังส่งผล​เป็นวิบากกรรมร่วมต่อ​เกษตรกร​ในบริ​เวณนั้น ​ทำ​ให้​เขา​แข่งขันทาง​การตลาด​ไม่​ได้ ความ​เป็นสาธารณะ ​หรือบุคคลสาธารณะ ​ไม่ว่าจะ​เป็นนัก​การ​เมือง  นักวิชา​การ พระภิกษุ ศิลปิน ข้าราช​การ ​ผู้นำ​ในสาขาวิชาชีพต่างๆ บทบาทหน้าที่ ระดับตำ​แหน่ง ​ความศรัทธา​เชื่อถือของบุคคล ล้วนส่งผลกระทบกระ​เทือน​เป็นกรรมร่วมทางสังคม ​เช่น นายกรัฐมนตรีบริหารผิดพลาด ตำ​แหน่งนี้​จึง​เป็นกรรมร่วมที่ส่งผลต่อสาธารณชน​หรือบ้าน​เมืองสูงกว่า ส.ส. ​ผู้ว่าราช​การ นายก อบต. ​หรือ​ผู้นำชุมชน ​และถ้า​เป็น​ไป​ในทาง​ไม่ดีกรรมชั่ว ผลจะกลาย​เป็นวิบากกรรมร่วมของประ​เทศ​ได้​หรือ​ไม่ ล้วนขึ้นอยู่กับว่ากรรมนั้น​เป็นอะ​ไร  อย่าง​ไร ​และลักษณะผลกระทบนั้น​เฉพาะ​หรือทั่ว​ไป​ทั้งประ​เทศ
ตัวอย่าง นักธุรกิจคนหนึ่ง​ในประ​เทศหนึ่ง อาศัย​ความฉลาด​และ​เล่ห์​เหลี่ยมสร้าง​ความร่ำรวยขึ้น​ได้ ต่อมา​ใช้อำนาจ​เงิน​เข้า​เล่น​การ​เมือง กลาย​เป็นรัฐมนตรีที่​เป็นบุคคลสาธารณะ​และกุมอำนาจรัฐ​ไว้​ในมือ ​หรือช่วงของชีวิต ​เขาสามารถสร้าง​ความมั่งคั่ง​โดยติดสินบนนายทหารยุครัฐประหาร​เพื่อขอ สัมปทานดาว​เทียมมา​ทำธุรกิจ​โทรคมนาคมจนร่ำรวยมหาศาล ​ทั้งสร้างวิบากกรรมร่วม​แก่ประชาชนจน​เกิดวิกฤติ​เศรษฐกิจ จาก​การ​เ​ก็งค่า​เงิน​โดยสมคบกับรัฐบาลปล่อยค่า​เงินลอยตัว จนส่งผล​ให้​เกิดวิบากกรรม​แก่ธุรกิจอื่น มากมายล้มระ​เนระนาด  ​แล้ว​ใช้ธนาธิป​ไตยทุ่ม​ใน​การสร้างพรรค ​การ​เมือง​และลง​การ​เลือกตั้ง จน​ได้​เป็นนายกรัฐมนตรีที่คอรัปชั่นที่สุดจาก​โครง​การ​ใหญ่ของรัฐมากมาย ​การ​ให้สัมปทาน​แก่​เครือข่ายธุรกิจ​การ​เมือง ​และ​การคอรัปชั่น​เชิงน​โยบาย ผลกรรมร่วมที่ก่อขึ้น ​ทำ​ให้นักวิชา​การ สื่อมวลชน ​และชนชั้นกลางลุกขึ้นมาคัดค้านขับ​ไล่ ​เขา​ก็พยายาม​ใช้กล​ไกอำนาจรัฐทุกวิถีทาง​เพื่อจะรักษาอำนาจของตน​ไว้ ด้วย​เผด็จ​การรัฐสภา​และครอบงำสื่อ ปลุกกระ​แสคนชนบทขึ้นมา​โดย​การ​ให้ข่าวสาร​เท็จ จนสร้าง​ความ​แตก​แยก​ในบ้าน​เมืองอย่างหนัก กระทั่งกลาย​เป็นวิบากกรรมทาง​ความคิดขัด​แย้ง​แยกขั้วที่อาศัย​ความรุน​แรง ​ทำร้ายกัน ​และ​เกิดวิกฤติ​การ​เมืองต่อ​เนื่องยาวนาน นี่คือคำอธิบายว่ากรรมของบุคคลสาธารณะ​เป็นกรรมร่วมทางสังคมรูป​แบบหนึ่ง
หลักกรรมร่วมทาง​การ​เมือง​จึง​เป็นสา​เหตุสำคัญที่ส่งผล​เป็นวิบากกรรม ประชาธิป​ไตย นั่นคือ สังคม​ไทย​ไม่สามารถพัฒนา​และสร้างสำนึกประชาธิป​ไตยที่​แท้จริงขึ้นมา​ได้ ​แม้​เวลาผ่าน​ไป​เกือบ 80 ปีหลัง​เปลี่ยน​แปลง​การปกครอง 2475 จากนัก​การ​เมืองฉ้อฉล​ไร้สำนึก ระบอบประชาธิป​ไตย​ไทย​จึงตกอยู่​ในวงจรอุบาทว์  ​ได้​แก่ มี​การ​เลือกตั้ง จัดตั้งรัฐบาลที่มักคอรัปชั่น​หรือบ้าอำนาจ  ​แล้ว​เป็น​เหตุ​ให้รัฐประหาร  จากนั้น​ก็ร่างรัฐธรรมนูญ จัด​ให้มี​การ​เลือกตั้ง ​ได้รัฐบาลที่สร้างปัญหา นำ​ไปสู่​การรัฐประหาร​โดยทหารอย่าง​ไม่สิ้นสุด หลักกรรมร่วม​และวิบากกรรมร่วมนี้ ​เมื่อนำมาวิ​เคราะห์สถาน​การณ์​การ​เมืองปัจจุบัน หลังจาก​การ​เลือกตั้ง 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา พรรค​เพื่อ​ไทย​ได้ชัยชนะ​เป็นพรรค​เสียงข้างมาก ​ซึ่งกำลังรวบรวมพรรค​เล็กพรรคน้อยจัดตั้งรัฐบาลร่วม 299 ​หรืออาจจะ 300 คนดัง​เป็นข่าวมา​แล้ว ดังนั้น กรรมร่วมของ​การ​เมือง​หรือสังคม​ไทย​จึงขึ้นอยู่กับรัฐบาล​ใหม่ คณะรัฐมนตรี​ทั้งชุด ​และรวมศูนย์ที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี  ​ผู้​เป็น​โคลนนิงของ น.ช.ทักษิณ ชินวัตร ​และ​การปฏิบัติตามน​โยบายที่หา​เสียง​เป็นสัญญาประชาคม
                แต่หลัง​เลือกตั้ง บรรดานักวิชา​การ สื่อมวลชน ​และภาคธุรกิจ ต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์ผลกระทบของน​โยบายประชานิยมพรรค​เพื่อ​ ไทยอย่างกว้างขวาง ​ถึงชัยชนะที่​ได้มาจาก​การหว่านน​โยบายประชานิยมอย่าง​ไร้สติ ​ไม่มี​ความรับผิดชอบต่อผลที่จะ​เป็นกรรมร่วม ​หรือคำนึง​ถึง​การปฏิบัติน​โยบายประชานิยมนั้น หากส่งผลกระทบต่อสังคม ​และ​ทำ​ให้​เกิดภัยพิบัติทาง​เศรษฐกิจ สังคม ​และดิน​แดน สังคม​ไทยควรที่จะยินยอม​ให้รัฐบาล​ใหม่ดำ​เนินน​โยบาย​เหล่านั้น​หรือ​ไม่  ตัวอย่าง​เช่น
น​โยบายรับจำนำข้าว​เกวียนละ 15,000 บาท ​หรือ 20,000 บาทต่อตัน  จาก​เดิมที่ประกันราคาราว 8,000 บาท ผลที่​เกิดขึ้น​ก็คือ ชาวนาส่วนหนึ่ง​ได้รับผลดี ​เป็นกรรมร่วม​เฉพาะกลุ่มอาชีพ ​แต่วิบากกรรมที่ห่วงกังวลกัน ​ได้​แก่  วิบากกรรมต่อคน​ทั้งประ​เทศ ​เนื่องจากจะ​ทำ​ให้ราคาข้าวสารสูงขึ้น​เป็น​เท่าตัว จากถุงละ 5 กิ​โลกรัม ราคาประมาณ 120-185 บาท ​เพิ่มขึ้น​เป็นกว่า 200-300 บาท ​หรือที่มี​การประ​เมินขั้นต้นว่าราคาข้าวสารจะสูงขึ้น​ไม่น้อยกว่า 60 ​เปอร์​เซ็นต์ ​โดยก่อ​ให้​เกิดภาระหนัก​แก่ประชาชน ​โดย​เฉพาะคนยากคนจน คน​ไทยควรที่จะยอมรับน​โยบายประชานิยมนี้​หรือ​ไม่
น​โยบายสร้าง​เมือง​ใหม่ ​โดยถมทะ​เลบริ​เวณปากน้ำ จ.สมุทร ปรา​การ ​ไป​ถึงสมุทรสาคร ​เป็นพื้นที่ประมาณ 3 ​แสน​ไร่ ออก​ไปประมาณ 10 กิ​โล​เมตร ​เพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุง​เทพฯ ​และ​เขตสี​เขียว ​ใช้งบประมาณมาก​ถึง 2 ล้านล้านบาท  ​โดย​เอกชนที่จะ​เข้าร่วมถมทะ​เลกะจะฟันกำ​ไร​ถึง​ไร่ละ 20 ล้านบาท ​และ​ไม่คำนึง​ถึงผลกระทบระบบนิ​เวศทางทะ​เล​และ​การขนดินทรายทั่วประ​เทศมา ถมสร้าง​เมือง​ใหม่ ส่งผลอย่าง​ใหญ่หลวงต่อ​แหล่งอาหาร (ปลา) ​ในอ่าว​ไทยยับ​เยิน
                ทั้ง​เป็นน​โยบาย​เกิน​ความ​เป็นจริง ​ซึ่งประ​เทศ​ไทย​ไม่​ใช่​เป็น ​เกาะที่ขาดที่ดินอยู่อาศัย มัน​เกิดจาก​ความคิดนัก​โทษสติ​แตกคนหนึ่ง​เสนออย่าง​ไร้​เหตุผล ชนิดคิดบ้าๆ ตามรัฐบาลดู​ไบ ​หรือสิงค​โปร์ที่​ไม่มีที่ดิน​เพียงพอ (​ไทยมีที่ดินมหาศาล) ​เพื่อผลาญ​เงิน​เล่น ​หรือหา​เงิน​เข้ากระ​เป๋าหวัง​โกงกินอภิมหา​โปร​เจ็กต์  ​ทั้งที่รู้ว่า​เมืองดู​ไบ​เวิลด์ที่ถมนั้นทรุดตัวลงจน​เป็นปัญหามากมาย​ใน ปัจจุบันนี้
น​โยบายถมทะ​เลสร้าง​เมือง​ใหม่ ​โดย​ไม่คำนึง​ถึงผลกระทบต่อระบบนิ​เวศ​ทั้งบนบก​และทะ​เลอย่างยับ​เยิน ​เป็นวิบากกรรม​ใหญ่หลวงมากกว่า​การ​เสนอขุดคอคอดกระ​ในอดีต ​ซึ่งนักวิชา​การ​เคยคัดค้าน​โดยอ้างผล​การศึกษาว่า หากรัฐบาลสมัยนั้นขุดคอคอดกระ จะมีผลต่อกระ​แสน้ำ​ในอ่าว​ไทยที่​เปลี่ยน​และกระทบกลับ​ไปยัง​แผ่นดินบริ​ เวณชายฝั่งสงขลา กัด​เซาะ​แผ่นดินสูญ​เสีย​ไปอย่าง​ใหญ่หลวงบางส่วน รัฐบาลสมัยนั้น​จึงยับยั้ง​โครง​การนี้​ไป จน​ไม่คาดคิดว่าหลายสิบปีต่อมา พรรค​เพื่อ​ไทยกลับบังอาจ​เสนอน​โยบาย​การถมทะ​เลจากฝั่ง 10 กิ​โล​เมตร อย่างขาดสำนึกรับผิดชอบว่าจะ​ทำ​ให้​แผ่นดินสูญหาย​ไป​เพียง​ไร ​หรือนิ​เวศอาหารทะ​เลจะวิบัติกลาย​เป็นวิบากกรรมร่วมของคนชายฝั่ง​และ ประชาชน​เพียง​ใด​ในอนาคต
น​โยบาย​เลือกที่รัก​หรือ​เลือกซื้อ​เสียง​เฉพาะกลุ่ม จาก​การกำหนด​เงิน​เดือน​ผู้จบ​การศึกษาปริญญาตรี 15,000 บาท ​โดย​ไม่คำนึง​ถึง​ผู้จบปริญญา​โท​และ​เอก  ​ซึ่งอัตรา​เงิน​เดือนปริญญา​โทจะน้อยกว่า ​หรือ​ใกล้​เคียงกับ 15,000 บาท ​และ​ไม่ต่ำกว่าปริญญา​เอกมากนัก จะ​เป็น​การสร้างวิบากกรรม​และย่ำ​เหยียบ​ผู้มี​ความรู้ที่สูงกว่า​ในระดับ ปริญญา​โท​และ​เอก ​ทั้งยัง​เป็น​เงิน​เดือนที่กำหนดขึ้นอย่าง​ไม่ชอบธรรม​และคุณภาพสูงลิ่ว​ เมื่อ​เปรียบ​เทียบกับปริญญา​โท-​เอก ผล​ทำ​ให้​โครงสร้าง​เงิน​เดือนของประ​เทศป่วน
ขณะนี้มีข่าวว่าหากรัฐบาล​ใหม่​ใช้น​โยบายนี้จริง รัฐบาล​ใหม่​ก็จะถูกฟ้องศาลจาก​ผู้จบ​การศึกษาที่สูงกว่า ​หรือจะส่งผล​ให้​ผู้จบ​การศึกษาปริญญาตรีตกงาน ​เมื่อ​ผู้ประกอบ​การหันกลับ​ไปรับ ปวส. ​หรือปริญญา​โท​แทน วิบากกรรม​ก็จะ​เกิด​แก่ปริญญาตรีนั่น​เอง ​และประชาชนทั่ว​ไปจะพบปัญหาสินค้าราคา​แพง ​เมื่อต้นทุน​การผลิตภาคธุรกิจสูงตาม ​เช่น​เดียวกับน​โยบายขึ้นค่า​แรงขั้นต่ำ 300 บาท ​ทำ​ให้ภาคธุรกิจต้นทุนสูงมาก ​และ​เท่ากับ​เป็นน​โยบายที่บีบบังคับ​หรือ​เผด็จ​การ​ให้ภาคธุรกิจ​เจ๊ง พร้อมกับ​เกิดภาวะ​เงิน​เฟ้ออย่างรุน​แรง ค่าครองชีพพุ่งลิ่ว ​และ​ทำ​ให้​โครงสร้าง​เศรษฐกิจ​ไทยล้มครืนลง
คงจะ​เห็นว่า น​โยบายประชานิยมของพรรค​เพื่อ​ไทย​ในลักษณะนี้ ชักจูง​ให้ประชาชนส่วน​ใหญ่ลงคะ​แนน​เสียง​ให้อย่างท่วมท้น ​เนื่องจากปัญหา​ความคิดของประชาชนที่มองปัญหา​เฉพาะหน้า​ใกล้ตัว ขาด​ความลุ่มลึกตระหนัก​ถึงกรรมร่วมระยะยาว ขณะที่นัก​การ​เมือง​เห็น​แก่ตัวอย่างร้ายกาจ ชูน​โยบายประชานิยมอย่าง​ไร้​ความรับผิดชอบ คิดสั้น​เพื่อ​ให้พรรค​ได้รับชัยชนะ ดังนั้น ​ในมุมมองกรรมร่วม​และวิบากกรรมร่วม หากรัฐบาล​ใหม่​เพื่อ​ไทยยังดื้อรั้น​เข็นน​โยบายต่อ​ไป  ผล​เท่ากับว่า พรรค​เพื่อ​ไทย​เนรคุณ ​ทำลาย​ผู้สนับสนุน​เลือกตน​ให้ประสบวิบากกรรมร่วม​ให้ยากลำบาก ​และอาจ​ถึง​ทำ​ให้​เศรษฐกิจของชาติล่มจม​ได้
จะ​แก้​ไขปัญหากรรมร่วมจากน​โยบายประชานิยมที่​ไร้สติอย่าง​ไร? นักวิชา​การ ภาคธุรกิจ ​และประชาชนมีสิทธิ์ที่จะประ​เมินผลกระทบ ​และ​เสนอทาง​เลือกดังต่อ​ไปนี้
1.​เมื่อ​เห็นภัยจากน​โยบายจะส่งผล​ให้​เกิดวิบากกรรมร่วมที่ หนักหนาสากรรจ์ ​หรือ​ไม่อาจจะ​เสี่ยงภัย​ได้จาก​การยินยอม​ให้รัฐ บาล​ใหม่ดำ​เนิน​การต่อ​ไป  ประชาชน​และภาคธุรกิจ​ก็มีสิทธิที่จะปก ป้องตน​เอง ด้วย​การปฏิ​เสธน​โยบาย​เหล่านั้น
2.รัฐบาล​ใหม่จะต้องประกาศ​ให้ชัด​เจน​ถึง​ความรับผิดชอบที่จะนำชาติ​ไป​ เสี่ยงภัยจาก​ความดื้อรั้น​ใน​การปฏิบัติน​โยบาย​เหล่านี้ ​หรือยอมรับ​ความผิดพลาดจาก​การ​เสนอน​โยบายนั้นๆ ด้วย​การยุบสภา​ให้มี​การ​เลือกตั้ง​ใหม่หลังจากจัดตั้งรัฐบาล​แล้วทันที ​เพื่อ​ให้ประชาชน​เลือกน​โยบายที่จริง​ใจ​และปฏิบัติ​ได้จริง
3.ประชาชน​เคลื่อน​ไหวทาง​การ​เมือง ​ไม่ยินยอม​ให้พรรค​การ ​เมืองที่กำหนดน​โยบายประชานิยม​เสี่ยงภัย​และ​ไม่​เป็นธรรม มี​โอ กาสจัดตั้งรัฐบาล​ได้​เลย
ปัญหา​การต่อ​เนื่องของกรรมร่วมจากน​โยบายประชานิยมที่​เสี่ยงภัย ยังก่อ​ให้​เกิด​ความคิด​ในหมู่ประชาชน 2 ด้าน ประ​การ​แรก​ก็คือ น่าจะ​ให้​โอกาสพรรค​เพื่อ​ไทยจัดตั้งรัฐบาล ​แล้วฟังทัศนะว่าจะ​แก้​ไขปัญหาอย่าง​ไร กับอีกด้านหนึ่ง ​เสนอว่า​ไม่ควรยินยอม​ให้พรรค​เพื่อ​ไทย​เสี่ยงภัย ประชาชนควร​เข้ามา​แก้​ไขปัญหานี้ ​หรือ​เรียกร้อง​ให้พรรคที่​ไม่มีน​โยบายประชานิยม​แบบ​เสี่ยงภัย​ทั้งหมด รวมตัวกันจัดตั้งรัฐบาล​แทน.
จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่า การเข้ามาของแนวคิดประชานิยม ได้เปลี่ยนรูปแบบของวิถีชีวิตของสังคมไทยจากความพอเพียง วิถีชีวิตที่เรียบง่าย ความถ้อยทีถ้อยอาศัย กลับกลายเป็นชีวิตที่ไม่รู้จักพอ เพียงเพื่อให้ตนเองได้มีในสิ่งที่นโยบายสนองตอบให้ เพียงเพื่อให้ตนได้อยู่อย่างสุขสบายโดยไม่ต้องเหนื่อย แต่สิ่งที่ตามมาก็คือการเสพติดประชานิยมของประชาชนนำไปสู่การรับเอาแนวคิดบริโภคนิยมมาใช้ในการดำเนินชีวิต แนวคิดเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงภาพของสังคมที่เปลี่ยนไปในมุมมองที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ทุกคนในสังคมยอมทำทุกสิ่งเพื่อเงิน แม้แต่การขายเสียง ซึ่งต่อมาแนวคิดที่ถูกนำมาใช้ในการหาเสียง ก็จะเปลี่ยนรูปร่างไปในแนวทางที่เน้นประชานิยมมากขึ้น เพื่อทำให้ประชาชนพึ่งพอใจ นำไปสู่การสร้างนโยบายที่หวังเอาใจชนชั้นที่เป็นเป้าหมายและหาผลประโยชน์จากชัยชนะนั้นอย่างเต็มที่ ซึ่งแม้ว่านโยบายที่เกิดขึ้นจากการลงคะแนนเสียงจะสามารถสร้างความพึงพอใจให้ในระยะแรก หากแต่งบประมาณมหาศาลในแต่ละโครงการส่งผลกระทบถึงปริมาณหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น มันจะมีผลต่อลูกหลานของเราในอนาคตท่าหาก เงินพวกนี้งอกเงยมากๆ ฐานะทางเศรษฐกิจของเราก็คงล้มลงเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆที่นำประชานิยมไปใช้ ซึ่งเมื่อคนไทยถูกครอบงำด้วยแนวคิดนี้มากผลที่ตามมาก็คือ
ช่องว่างที่แตกต่างของชนชั้นต่างๆในสังคมจะสูงขึ้น เนื่องมาจากโครงสร้างในการเข้าถึงรายได้ที่ไม่เป็นธรรมรวมถึงภาระทางด้านภาษีและหนี้สาธารณะที่ถูกผลักให้กับคนกลุ่มนี้ จะยิ่งสร้างช่องว่างที่สูงขึ้น ซึ่งแม้ว่าประชาชนจะรู้สึกว่ามีเงินในกระเป๋ามากหากแต่เงินเหล่านี้คือเงินในอนาคตที่พวกเขาไม่เคยตระหนักถึงเลยนั่นเอง
เมื่อนโยบายเหล่านี้ถูกใช้ไปในระยะหนึ่ง ประชากรบางส่วนจะเริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อและการใช้จ่ายที่เกินตัวของรัฐบาล นำไปสู่ปัญหาหนี้สิน การก่ออาชญากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลักวิ่งชิงปล้นจะมากขึ้น การฆ่ายาเสพติดจะสูงขึ้น การขายบริการทางเพศจะมากขึ้นอีก  ศีลธรรมจะเสื่อมทรามลงตามไปกับวิกฤตนี้ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก ลัทธิ บริโภคนิยมที่เงินเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ที่ทำให้ทุกคนมองข้ามคุณค่าของความเป็นคนเพื่อให้ได้มาซึ่ง เงิน ซึ่งเมื่อวันหนึ่งที่เกิดวิกฤตเช่นเดียวกับกรีซละอาร์เจนตินา สิ่งหนึ่งที่จะตามมาก็คือ การเสื่อมถอยของความเป็นชาติ อันเนื่องมาจากภาวการณ์ขาดแคลนและความจำเป็นอาจทำให้ประชาชนจะต้องแข่งขันและแสวงหาในสิ่งซึ่งสำคัญกับการดำรงชีวิต แม้ว่าจะต้องยอมขายความเป็นชาติของตน ให้กลุ่มทุนทางวัฒนธรรมของต่างชาติเข้ามาครอบงำและถ่ายทอดชุดความคิดที่เป็นประโยชน์แก่ตนเพื่อแสวงประโยชน์จากวิกฤตของชาติได้เช่นกัน
อาจสรุปผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินนโยบายประชานิยม ทั้งที่เป็นผลกระทบทางเศรษฐ กิจ ทางสังคม/วัฒนธรรม และทางการเมืองว่า จะทำให้ประชาชนมีหนี้สินเพิ่มขึ้น ไม่สามารถหลุดพ้นวงจรหนี้สิน นั่นคือไม่อาจหลุดพ้นจากความยากจนได้ การบริโภคมากมีส่วนทำให้กลุ่มธุรกิจที่สนับสนุนรัฐบาล มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลมั่นคง และประชาชนก็ต้องขึ้นต่อรัฐบาลในรูปแบบของความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กับทุนนิยม ประชาชนจึงไม่มีอำนาจที่แท้จริง

เอกสารอ้างอิง

ผลกระทบของนโยบายประชานิยมในรัฐบาลทักษิณที่มีต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม



1.เน้นสร้างความเจริญเติบโตในระยะสั้นที่ไม่ยั่งยืน
2. การลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้น
3. การสร้างภาระหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น
4. มีแนวโน้มทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่
5. การเลิกพึ่งพิงต่างประเทศเป็นไปได้ยาก
ผลกระทบของนโยบายประชานิยมต่อระบบเศรษฐกิจ
1.การเน้นสร้างความเจริญเติบโตในระยะสั้นที่ไม่ยั่งยืน
กราฟเส้นแสดงอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในช่วงปี 2541 - 2546

 
 



         อัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นนั้น แม้ในช่วงตนของรัฐบาลทักษิณ 1 คือตั้งแต่ 2544-2545 นั้น อัตราการเติบโตจะเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 4% แต่ในปี 2546 การเติบโตกับลดลงเหลือเพียง เกือบ 1% เท่านั้น แสดงให้เห็นถึงการเติบโตในระยะสั้นๆที่สูงอย่างก้าวกระโดดเท่านั้น แต่ในระยะยาวไม่ใด้เติบโตอย่างยั่งยืนเช่นกับในช่วงแรก
                                                                                                                  




                    ในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดจากนโยบายลดแลกแจกแถม และก่อหนี้อนาคตดำเนินไปนั้น ทำให้ประชาชนมีการบริโภคที่สูงขึ้นอย่างน่าตกใจเช่นกัน ซึ่งสวนทางกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นของฐานะทางการเงินของกลุ่มมวลชนเป้าหมาย คือ ผู้มีรายได้น้อย ทั้งสิ้น จะเห็นได้จากอัตราการบริโภคที่สูงขึ้นตามกราฟทั้งสาม

ในขณะเดียวกันกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร บางส่วนก็ได้ใช้เม็ดเงินจากนโยบายประชานิยมไปลงทุนในภาคการเกษตร หากแต่ว่าข้อเท็จจริงก็คือ การลงทุนเหล่านี้ขาดทิศทางและกลับสู่วังวนเดิมๆเช่น ภาวะพืชล้นตลาด การถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ภัยธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งแม้ว่าในช่วงแรกของรัฐบาลทักษิณ 1 จะมีการขยายตัวที่สูงแต่เมือพบกับสภาวะที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้การขยายตัวลดลง บางส่วนขาดทุนจนต้องเลิกกิจการและกลายเป็นหนี้เป็นสิน ท้ายที่สุดภาคการเกษตร ก็จะขาดแรงงานอันเนื่องมาจากภาระหนี้สิน ก็จะทำให้คนกลุ่มนี้เดินหน้าเข้าสู่อุตสาหกรรมมากขึ้น
 2.การลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้น
จะเห็นได้ว่าการลงทุนในภาคเอกชนนั้น แม้จะมีนโยบายประชานิยมโดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งที่อยู่ในวัฎจักรของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งจากจุดนี้ทำให้ได้เห็นว่า ไม่ได้เกิดผลต่อการเติบโตของภาคเอกชนโดยเฉพาะกลุ่ม SME เท่าใดนักหากแต่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคและภาระหนี้สินมากกว่าการฟื้นตัวเสียอีก

3.การสร้างภาระหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น
      กราฟเส้นแสดงร้อยละของหนี้สาธารณะต่อ GDP   ในปีพ.ศ. 2544 - 2547
 
 
 หนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของการก่อหนี้ของรัฐบาล เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการดำเนินนโยบายประชานิยม รวมถึงหนี้ของภาคครัวเรือนอันเกิดจากการดำเนินนโยบายประชานิยมของประชาชนนั้น ถือว่าอยู่ในระดับที่สูง เมื่อเทียบกับทั้งรายได้ของรัฐและรายได้ภาคครัวเรือน สิ่งที่น่ากังวลก็คือหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก สะท้อนถึงผลการบริโภคนโยบายประชานิยมของประชาชน นำไปสู่การบริโภคโดยขาดภูมิคุ้มกันที่ดี เพราะง่ายและรวดเร็วตามกลไกที่ถูกกำหนดโดยนโยบายประชานิยมนี่เอง การก่อหนี้สินเช่นนี้ เป็นเหมือนการดึงเอาเงินในอนาคตมาใช้ เพื่อสนองตอบความต้องการทางวัตถุในปัจจุบัน ซึ่งเงินเหล่านี้อยู่บนพื้นฐานของความไม่แน่นอนและความเสี่ยงต่อการสร้างภาวะล้มละลายและก่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เข้าสู่ระบบสถาบันการเงินมากขึ้นไปอีก สิ่งนี้เองจะไปเพิ่มภาระหนี้สาธารณะให้กับรัฐบาลและเป็นภาระกับทั้งภาวะการเงินการคลังทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป

4.มีแนวโน้มทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่
กราฟแสดงการเคลื่อนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ

                การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 จนถึง ไตรมาสที่สองของปี 2545 นั้น สูงขึ้น นั่นก้อเนื่องมาจากเม็ดเงินที่ถูกอัดฉีดเข้าไปจากการใช้นโยบายประชานิยมที่เข้าไปกระตุ้นการบริโภคทำให้ความเชื่อมั่นในระยะสั้นของนักลงทุนสูงขึ้น การลงทุนที่สูงขึ้นทำให้ภาคธุรกิจสามารถระดมทุนในการลงทุนได้มากขึ้น และเติบโตในระยะสั้นอย่างรวดเร็ว หากแต่ในข้อเท็จจริง เมื่อผลของนโยบายเริ่มแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ทำให้เศรษฐกิจถดถอยแล้ว นักลงทุนก็ขาดความเชื่อมั่นในการถือครองหลักทรัพย์ต่างๆทำให้มีการเทขายหลักทรัพย์ในตลาดตั้งในไตรมาสที่สามของปี 2545 เป็นต้นมา ส่งผลต่อการลงทุนและการขยายตัวและการลงทุนของภาคธุรกิจที่เป็นอย่างไร้ทิศทางและไร้ขอบเขต เมื่อมาพบกับการเทขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์อีก ก็ยิ่งทำให้ภาคธุรกิจเหล่านี้ต้องประสบปัญหาภาวะหนี้สินและนำไปสู่ภาวะการล้มละลายและเสื่อมราคาของหลักทรัพย์ต่าง นำไปสู่ภาวะฟองสบู่แตกในที่สุด

 5. การเลิกพึ่งพิงต่างประเทศเป็นไปได้ยาก


ในเมื่อหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นก็จะกระทบถึงนโยบายการเงินของรัฐบาล ในการใช้จ่ายงบประมาณดังนั้น แนวทางในการเพิ่มมูลค่าการส่งออก โดยใช้นโยบายการคลังย่อมจะเป็นหนทางที่รัฐบาลจะเลือกใช้ ดังนั้นมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นก็จะเป็นปัญหาต่อโครงสร้างเศรษฐกิจในอนาคตที่จะต้องพึ่งพาต่างประเทศอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งทำให้เศรษฐกิจของไทยจะอ่อนไหวไปตามภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ถือว่าเสี่ยงต่อการประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในรอบต่อๆไปจากจุดนี้เอง

เอกสารอ้างอิง
http://www.kpi.ac.th/kpith/pdf/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93%E0%B8%B2%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1.pdf
piyapongpom.blogspot.com/2011/07/blog-post.html
www.polsci.chula.ac.th%2Fweerasak%2Fdata%2FFMP%2F%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25A1.ppt&ei=wwrwTo29E8PwrQex5cH9Dw&usg=AFQjCNG_HYGbRe96fpxDhOiYLRGb8GQMvQ&sig2=5RetC45KfHralQxv0zIvqw&cad=rja