วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

10ข้อดีของคนญี่ปุ่นที่ควรเลียนแบบ!!

10ข้อดีของคนญี่ปุ่นที่ควรเลียนแบบ!!


ขอยกบทความในบล็อคของคุณใหม่เมืองเอกมาให้ดูเป็นตัวอย่างกับคนไทยนะครับ




ผมขอยกคำแปลทั้ง10ข้อ ที่คุณเลดี้ lady123 ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ได้แปลไว้ในนัทจ๋าบอร์ด มาลงไว้ครับ ต้องขอขอบคุณคุณเลดี้ด้วยครับ
V

V

คนที่ไม่เคยไปอยู่ญี่ปุ่น คงไม่ค่อยเข้าใจ ยิ่งเป็นภาษาอังกฤษ อาจจะไม่ค่อยซึมซับเพราะคำที่ใช้ต้องการคำอธิบายเยอะ พี่เลดี้อ่านแล้ว อยากจะเข้ามาบอกแทนว่า คนทั่วโลกอยากบอกอะไรเกี่ยวกับคนญี่ปุ่น
ทั้งสิบข้อนี้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น และเขาเป็นแบบนั้นจริงๆ ไม่ใช่เขียนแบบสวยหรู ดูดีแต่อย่างไร

1. ไม่โวยวาย ระงับอารมณ์ความรู้สึก The Calm
ไม่ออกมาร้องไห้ ตะโกนบอกคนอื่นว่าตัวเองลำบากแค่ไหน หรือ เวลาที่ใครตาย ต้องร้องไห้ตะโกน แบบชนชาติอื่น ซึ่งเราก็คงเห็นจากในหนังบ่อยๆ

2. ความมีศักดิ์ศรี มีเกียรติ์ The Dignity
ไม่มีการใช้คำด่า หรือใช้ คำหยาบคาย แสดงมารยาททรามๆ (เช่น ยกนิ้วกลาง แสดงอารมณ์ที่เราเคยเห็นบกลายจุด และสาวไทยที่เห่อฝรั่งยกนิ้วให้ถ่ายภาพกันสลอนที่เราเห็นกันจนชินตาในบ้าน เรา)

3. ความสามารถ The Ability
ความสามารถที่เหลือเชื่อของคนญี่ปุ่นทางด้านสถาปัตยกรรมที่แม้แต่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดไหน
แม้ตึกสูงๆจะไหวเอียงไปมา ด้วยความระทึกใจ แต่ตึกสูงๆกลับไม่พังทลายลงมา

4. ความสง่างาม The Grace
ความสง่างามที่แสดงออกยามยากลำบาก ไม่มีการเห็นแก่ตัว คิดถึงแต่ตัวเอง ไม่คิดถึงคนอื่น
คนญี่ปุ่นไปซื้อของเฉพาะที่จำเป็นใช้ เพื่อคนอื่นจะได้ซ้ำไปใช้ได้ คือ มีน้ำใจเผื่อแผ่คิดถึงคนอื่น

(ไม่กักตุน หรือไม่มีพ่อค้าหัวใส กุกตุน หรือโก่งราคาขายแพงๆแบบบ้านเรา เพราะถือเป็นโอกาสที่ดี
จะได้รวยกันคราวนี้ เห็นแก่ตัว งกเงิน และไม่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ พวกกระต่ายตื่นตูมมีเยอะมาก พ่อค้าก็เลยรวย เหมือนเวลาน้ำตาลแพง น้ำมันปาล์ม หายหมด แล้วก็หาซื้อไม่ได้ เพราะพวกขี้ตื่นวิ่งไปซื้อกันหมด และกักตุนทันที)

ทางออกสำหรับพวกเราโอกาสหน้าก็คือ ร่วมมือกันอย่าไปซื้อสินค้าที่พวกกักตุน กินอย่างอื่นแทน ไม่ตายหรอก แต่คนขายตายแน่ ถ้าคนบอยคอร์ด พวกเห็นแก่ตัว ฉวยโอกาสพวกนี้

5. ความมีระเบียบ วินัย สังคมมีระเบียบ The Order
ไม่มีพวกฉวยโอกาส พวกเห็นแก่ตัว ที่เข้าไปปล้น หรือเข้าไปขนของในร้าน ไม่มีการก่อความวุ่นวายบีบแตร หรือไม่มีการแซงหรือตัดหน้ารถคนอื่นด้วยความเห็นแก่ตัว เพราะจะรีบๆไปไม่คิดถึงคนอื่น แต่เข้าใจสถานการณ์ และช่วยกันรักษาระเบียบของสังคม

6. ผู้เสียสละ ผู้พลีชีพเพื่อคนอื่น The Sacrifice
คนงานในโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ 50 คนที่ต้องเข้าไปปั้มน้ำทะเลเข้าเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ ได้แต่สวดอ้อนวอนภาวนาให้ทุกคนปลอดภัย แล้วพวกเราจะตอบแทนบุญคุณเขาเหล่านี้ที่สละชีพ และเสียสละเพื่อส่วนรวมได้อย่างไร

7. ความละเอียดอ่อนทางด้านจิตใจ คิดถึงใจเขาใจเรา The Tenderness
ร้านอาหารตัดราคาจากปกติเพื่อช่วยคนที่ได้รับความเดือดร้อน
เอทีเอ็มปล่อยทิ้งไว้
(ไม่มีคนออกมางัดแงะ ตู้เอทีเอ็ม หรือปล้นเอาเงินแบบบ้านเรา ตอนประท้วง อายเขามั้ยเนี่ย )

8. การได้รับอบรมสั่งสอนที่ดี The Training
ไม่ว่าเด็ก และคนแก่ ยามนี้ ใครๆก็รู้หน้าที่ของตัวเองว่า ควรทำยังไง ไม่ต้องมีคนออกมาบอกมาสอน หรือเตือน

9. สื่อมวลชน หรือ นักข่าวทั้งหลาย The Media

พยายามเสนอข่าวที่พยายามไม่ทำให้เกิดความสะเทือนใจ พยายามเสนอข่าวที่ไม่สร้างความวุ่นวาย
( ไม่เหมือนบ้านเรา ชอบพาดหัวข่าวให้ตื่นเต้น เร้าใจ ยิ่งมันส์ ยิ่งแรง ยิ่งขายหนังสือพิมพ์ได้ จรรยาบรรณของสื่อมวลชนคนระดับ ขอให้ขายหนังสือพิมพ์ให้ได้ก็พอ เรียกว่าพวกฉวยโอกาส อ่านทีรู้เลยว่าเป็นยังไง)

10. จิตสำนึก(ดีและชั่ว) คุณธรรม สติสัมปชัญญะ (ไม่โลภ ไม่เห็นแก่ตัว มียางอาย รู้สึกว่าบาป) The Conscience
เมื่อคนญี่ปุ่นเข้าไปในร้านขายของแต่ไฟดับ คนญี่ปุ่นก็เอาของไปคืนบนหิ้ง แล้วก็เดินออกมา โดยไม่หยิบฉวยของร้านออกมา หรือติดมือออกมา

(พูดง่ายๆ ไม่มีการปลอบใจตัวเองแบบหน้าด้านๆว่า ไฟดับ อยากเปิดร้านทิ้งไว้ทำไม อยากโง่เอง ต้องถือโอกาสหยิบของในร้านมาใช้ ไม่หยิบเดี๋ยวคนอื่นก็หยิบ เราก็โง่อีก ไม่เห็นเสียหาย ไม่มีใครรู้ ดีเสียอีก ไม่ต้องจ่ายเงิน พูดง่ายๆ จิตสำนึก และความยางอายไม่มี)

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ภาพสะท้อนสังคมทุนนิยมกับสังคมไทย








ในจุลสารฉบับสุดท้ายมีบทความพิเศษเรื่อง "ผลกระทบของนโยบายประชานิยมที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทย" ที่เขียนโดย "วินัย ผลเจริญ" นักศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเสนอ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลรายงานชี้ว่า นโยบายประชานิยมมีวิวัฒนาการ จากการเคลื่อนไหวของขบวน การประชาชนถึงการที่รัฐบาลกำหนดนโยบายแบบเอาใจประชาชนเพื่อผลประโยชน์ในการได้รับการเลือกตั้ง และเมื่อได้รับเลือกตั้งแล้ว ดำเนินนโยบายนั้นต่อไปเพื่อรักษาฐานอำนาจไว้ โดยสามารถทำให้ทั้งกลุ่มทุนที่สนับสนุนรัฐบาลและประชาชนทั่วไปพึงพอใจ คือประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนแหล่งสินเชื่อ แต่การเข้าถึงแหล่งทุนนั้นเป็นการเข้าไปแบบเสียเปรียบ เพราะโดยทั่วไปทุนหรือธุรกิจย่อมมีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดกำไรได้มากกว่าประชาชน ประชาชนจึงตกเป็นเครื่องมือของทุนนิยมและบริโภคนิยม กลายเป็น "ทุนติดลบ" มีหนี้สินมากมาย ซึ่งทำให้ต้องขึ้นต่อการอุปถัมภ์ของรัฐบาลต่อไป
"วินัย ผลเจริญ" นำเสนอผลกระทบอย่างตรงประเด็นว่า การที่ระบบการเมืองแบบผู้แทนถูกสถาปนาขึ้นมาในสังคมที่คนส่วนใหญ่ยากจนและด้อยโอกาสนั้น แน่นอนที่สุดอันดับแรกย่อมหมายถึงการแข่งขันทางการเมืองที่กระจุกตัวแคบอยู่ในหมู่ชนชั้นนำ ซึ่งมีเงื่อนไขทางเศรษฐกิจมากพอที่จะขึ้นสู่เวทีอำนาจได้ ส่วนประชาชนชั้นล่างเป็นได้อย่างมากที่สุดคือฐานความชอบธรรม (legitimacy) ของกระบวนการเลือกตั้ง ถ้าต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้นบ้างก็อาจเอาตัวเองไปผูกโยงกับเครือข่ายอุปถัมภ์ต่างๆ ซึ่งมิได้มีที่ว่างสำหรับทุกคน และยิ่งไม่ได้สะท้อนภาพระบอบการเมืองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าโครงการประชานิยมต่างๆ นั้นเอื้อต่อการเติบโตของวัฒนธรรมบริโภคนิยมและทำให้ประชาชนติดอยู่ในวังวนแห่งหนี้สิน เป้าหมายที่รัฐบาลต้องการจะขจัดความยากจนให้หมดสิ้นไปจึงไม่อาจเกิดขึ้นจริงได้ง่าย โดยเฉพาะการกระจายรายได้มิได้ดีขึ้นเลย ในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมายังมีความเหลื่อมล้ำกันมาก และเกือบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย กล่าวคือ "กลุ่มคนรวยสุด 20% สุดท้ายมีส่วนแบ่งรายได้รวมกันเกินครึ่งของรายได้ทั้งหมด ในขณะที่คนส่วนใหญ่ 60% ของประเทศมีส่วนแบ่งรายได้เพียง 1 ใน 4 ของรายได้ทั้งหมดเท่านั้น" "และถ้าแบ่งกลุ่มประชากรให้เล็กลงเหลือ 10% แรกที่รวยกับ 10% หลังที่ยากไร้ ก็จะพบว่าพวกเขามีรายได้ต่างกันถึง 27 เท่า" และหากพิจารณาเป็นรายคน คนที่รวยที่สุดกับคนที่จนที่สุดมีรายได้ห่างกันหลายล้านเท่า ผลจากนโยบายประชานิยมทำให้กลุ่มธุรกิจมีการสะสมทุนได้มากยิ่งขึ้น กลุ่มธุรกิจเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองอย่างใกล้ชิด การที่ประชาชนนิยมบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยมากขึ้น โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ
ด้วยอิทธิพลการโหมโฆษณาของสื่อต่างๆ จะทำให้กลุ่มทุนที่ทำธุรกิจด้านนี้ได้กำไรอย่างมากในระยะเวลาที่ต่อเนื่องยาวนาน เป็นที่ทราบกันว่ากลุ่มทุนสื่อสารโทรคมนาคมนั้นก็คือ กลุ่มที่กำลังคุมอำนาจทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจอยู่ในปัจจุบัน เงินของประเทศที่ลงไปอยู่ในมือของประชาชนจากนโยบายประชานิยมต่างๆ นั้น ในที่สุดจะมิได้ทำให้ประเทศชาติมั่งคั่งขึ้นมากไปกว่าความมั่งคั่งของกลุ่มทุนที่สนับสนุนรัฐบาลเลย นโยบายประชานิยมของรัฐบาลจึงเป็นแบบที่ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์ เรียกว่า "pluto- populism" ซึ่งผู้เขียนขอเรียกว่าเป็นนโยบาย "ช่วยคนจนเพื่ออุ้มคนรวย"  ความจริงนโยบายที่ช่วยคนรวยโดยตรงก็มี เช่น กรณีการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ขึ้นมาจัดการหนี้เสียของสถาบันการเงิน บรรษัท ก็ทำงานเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเงินในเครือชินวัตร เช่น ธนาคารทหารไทยอย่างมาก ข้อควรคำนึงก็คือ "โครงการที่รัฐบาลไทยรักไทยทำแบบเงียบๆ ใช้เงินอุดหนุนและเอื้อประโยชน์นายธนาคาร นายทุนใหญ่นั้นมีมากกว่าที่เอามาช่วยคนจนหลายสิบเท่า แต่ไม่ได้ประชาสัมพันธ์เท่ากับโครงการช่วยคนจน" นโยบายดังกล่าวมิใช่สิ่งที่ประชาชนทั่วไปสามารถมองเห็นได้ชัด เพราะการดำเนินนโยบายหลายอย่าง ประชาชนอาจจะมองได้ว่า นั่นเป็นอีกทางหนึ่งที่ต้องดำเนินไปพร้อมกันเป็นแบบ "รางคู่" หรือ "dual track" ที่รัฐบาลประชาสัมพันธ์อยู่นั่นเอง
หรืออีกนัยหนึ่งคือเกิดการบูรณาการของส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน คือ 1) การบูรณาการภาคประชาชน ด้วยนโยบายประชานิยมและโครงการเอื้ออาทรต่างๆ 2) การบูรณาการภาคการเมือง ที่สามารถรวบรวมกลุ่มทุน และอิทธิพลท้องถิ่นเข้าอยู่ในพรรคได้มาก 3) การบูรณาการภาคการเมืองเข้ากับภาคราชการ 4) การบูรณาการกับกลุ่มทุนใหญ่ต่างๆ และ 5) การบูรณาการทุนหรือการเปลี่ยนทั้งประเทศให้เป็นทุน โดยการแปลงชนบท และคนจนให้เป็นทุนบริโภคแปรทรัพยากร หรือทรัพย์สินรัฐให้เป็นทุนและทำให้คุณธรรมศีลธรรมเป็นทุน
อาจสรุปผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินนโยบายประชานิยม ทั้งที่เป็นผลกระทบทางเศรษฐ กิจ ทางสังคม/วัฒนธรรม และทางการเมืองว่า จะทำให้ประชาชนมีหนี้สินเพิ่มขึ้น ไม่สามารถหลุดพ้นวงจรหนี้สิน นั่นคือไม่อาจหลุดพ้นจากความยากจนได้ การบริโภคมากมีส่วนทำให้กลุ่มธุรกิจที่สนับสนุนรัฐบาล มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลมั่นคง และประชาชนก็ต้องขึ้นต่อรัฐบาลในรูปแบบของความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กับทุนนิยม ประชาชนจึงไม่มีอำนาจที่แท้จริง
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
น​โยบายประชานิยมกลาย​เป็น​เงื่อน​ไขสำคัญ​ใน​การ​เลือกตั้ง ที่ถูกนำ​ไป​ใช้​เป็นองค์ประกอบสำคัญ ​ให้​ผู้คนหันมาสน​ใจ​เทคะ​แนน​ให้พรรค​การ​เมือง ​และช่วย​ให้บรรดานัก​เลือกตั้ง​ทั้งหลายนำ​ไป​โฆษณา​เกทับ ปลั๊ฟฟ์​แหลกกัน​ในพื้นที่ ​ในระหว่างตระ​เวนหา​เสียง สภาพที่​เกิดขึ้น​เช่นนี้​ทำ​ให้พรรค​การ​เมือง​ไทย ​ไม่มี​ความ​แตกต่าง​เชิงน​โยบาย​และอุดม​การณ์ทาง​การ​เมืองอย่าง​แท้จริง ทุกพรรค​การ​เมืองต่างกลายสภาพ​เป็นปีศาจประชานิยม​ไป​โดยปริยาย!
ในสนาม​เลือกตั้งพรรค​การ​เมืองสน​ใจชัยชนะมากกว่าสิ่งอื่น​ใด ทุกคน ทุกพรรคต่างหาทาง​ทำทุกวิถีทาง​เพื่อที่จะชนะ​เลือกตั้ง ​การ​ทำ​ให้ตัว​เอง​และพรรค​ได้รับชัยชนะ​จึง​เป็นภารกิจหลักของพรรค​การ​ เมือง​และนัก​เลือกตั้ง​ทั้งหลาย ​ไม่มี​การคำนึง​ถึง​ความถูกต้อง จริยธรรมทาง​การ​เมือง ​ความก้าวหน้าของ​ผู้คน สังคม ​และประ​เทศชาติ ในฤดูกาล​แห่ง​การหา​เสียง​เลือกตั้ง ​เรา​จึง​เห็นป้าย​และ​การ​โฆษณาหา​เสียงของพรรค​การ​เมือง มีสภาพ​เดียวกับบริษัท ห้างร้าน ​หรือภัตตาคาร​ทั้งหลาย บางพรรค​แทบ​ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า​เป็นพรรค​การ​เมือง นึกว่า​เป็นร้านขายรถยนต์ ​เช่น ป้าย​โฆษณาที่​เสนอน​โยบาย "รถยนต์คัน​แรก ลด 100,000 บาท" ข้อ​เสนอน​โยบาย​แบบนี้นับว่า ​เลอะ​เทอะ ​ได้ที่สุดๆ ​แล้ว การนำ​เสนอน​โยบายของพรรค​การ​เมือง​ไทย​ได้มีผล​ให้ องค์กรที่มีบทบาทด้าน​เศรษฐกิจระหว่างประ​เทศอย่าง ธนาคารพัฒนา​แห่ง​เอ​เชีย ​หรือ​เอดีบี ​และธนาคาร​โลก ต่างออกมาวิ​เคราะห์วิจารณ์​เตือน​การ​เมือง​ไทยว่า ​ให้คำนึง​ถึง​ความ​เข้ม​แข็ง​และ​ความ​เป็น​ไป​ได้ทาง​เศรษฐกิจ ​ใน​การที่จะสร้าง​ความมั่น​ใจ​ให้สังคม​ไทยสามารถก้าว​ไปข้างหน้าอย่างมั่น คง มี​เสถียรภาพยั่งยืน ​ผู้คนสามารถพึ่งพาตัว​เอง​ได้ ​ไม่​ใช่คอย​แต่จะพึ่งรัฐอย่าง​เดียว ​ซึ่ง​ในระยะยาวจะ​ทำ​ให้ประ​เทศชาติตกที่นั่งลำบาก อย่าง​ไร​ก็ดี อีก​ไม่กี่วัน​ก็จะ​ถึง วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ​ซึ่ง​เป็นวัน​เลือกตั้ง​แล้ว สังคมยังปรากฏ​ให้​เห็น​การคุกคาม​ใน​การหา​เสียง​เลือกตั้งจาก "กลุ่มคน​เสื้อ​แดง" ที่กระ​ทำต่อพรรค​การ​เมืองที่ตน​ไม่ชอบ​ใน​แบบต่างๆ อยู่ตลอด​เวลา นับ​เป็นพฤติกรรมที่​ไม่สร้างสรรค์ ​ทำลาย​ความปรองดอง ​และขัดขวาง​การพัฒนา​ในระบอบประชาธิป​ไตยอย่างยิ่ง มีผล​ให้​การพูด​ถึง​ความปรองดอง ​ความกระตือรือร้นของ "ปูยิ่งลักษณ์" ​ผู้สมัครปาร์ตี้ลิสต์​เบอร์ 1 ของพรรค​เพื่อ​ไทย ที่​เอ่ยอ้าง​ถึง​ความต้อง​การที่จะสร้าง​ความสงบ​เรียบร้อย ​ไม่มีน้ำหนักที่จะ​ทำ​ให้คนมีสติปัญญา​ในสังคม​เชื่อถือ คำพูด​และภาพที่ปรากฏ​จึง​เป็น​เสมือน "ละคร​การ​เมือง" ที่มี​การ​เดิน​เกม​ใต้ดิน​แบบคู่ขนานระหว่าง คน​เสื้อ​แดง กับ พรรค​เพื่อ​ไทย ตราบ​ใดที่ "คน​เสื้อ​แดง" ยัง​ไล่ล่า สร้าง​ความปั่นป่วน​ใน​การ​เลือกตั้ง​ใส่พรรคคู่​แข่ง! ​แม้จะ​ไม่รุน​แรงขนาด​เผาบ้าน​เผา​เมือง ​หรือ​ใช้กองกำลัง​ใต้ดิน ที่กระ​ทำ​ไปพร้อมกับสร้าง​เรื่องป้ายสีกองทัพ​และข้าราช​การ​แบบรายวัน อย่างที่​เคย​เกิดขึ้นมา​แล้ว​ก็ตาม สภาพ​การ​เมืองวันนี้​จึงมีสภาพที่​เลวร้าย มี​เพียง​ความหวังลมๆ ​แล้งๆ ที่คิดว่าหลัง​เลือกตั้ง​แล้วบ้าน​เมืองน่าจะดีขึ้น ​แต่​ใน​ความ​เป็นจริง​แล้ว สังคม​ไทย​โดยรวมกำลังถูกชักลาก​ให้ดำดิ่งสู่​ความอ่อน​แอ ​เลอะ​เทอะ ของฝูงปีศาจประชานิยม ถูกล่อลวง​แบ่ง​แยก​โดยจอมลวง​โลก ​และตกวนอยู่​ใน​ความรุน​แรง ​การข่มขู่ ​และ​การ​ใช้มวลชนคุกคาม​ความสงบสุขของสังคม ​โดยอาศัยภาพ​แสดง​แทนที่​เป็นสุภาพสตรี ที่มีบุคลิกอ่อน​โยน รัก​ความสงบ บูชา​ความ​เป็นธรรม เส้นทาง​เยี่ยงนี้มี​แต่หายนะ​เท่านั้นที่​เป็นปลายทาง ที่สังคมจะต้อง​เผชิญ การหมุนของกงล้อ​แห่งกรรม  ​หรือกง​เกวียนกำ​เกวียนทาง​การ​เมืองที่​เป็นผลต่อ​เนื่อง ยังคงสร้างวิกฤติ​ให้สังคม​ไทยต่อ​ไป ดุจจะ​แสดงว่าตราบ​ใดที่​การ​เมืองยัง​เน่า​เหม็น ย่อมมิอาจจะผลิต​ความหอมจากปฏิกูล​ได้ฉันนั้น ปัญหาม​โนทัศน์ของ​การ​แก้ปัญหาที่ปลาย​เหตุ มิ​ได้มองต้นตอ​แห่ง​ความ​เลวร้าย ทัศนะที่ยอมรับ​การ​เมืองสี​เทา รวม​ไป​ถึง​การ​แยก​ไม่ออกระหว่างลัทธิประชาธิป​ไตยกับลัทธิ​เสียงข้างมาก ที่สามานย์ ​ใน​เงื่อน​ไขนัก​การ​เมืองขาดจิตวิญญาณประชาธิป​ไตย​และมุ่ง​เข้ามา​ใช้ อำนาจ​แสวงหาผลประ​โยชน์​หรือคอรัปชั่น ​ทำ​ให้ประชาธิป​ไตย​ไทยกลาย​เป็นต้น​ไม้พิษที่ย่อมออกลูก​เป็นพิษต่อ​ไป อย่าง​ไม่สิ้นสุด
                การ​เลือกตั้งที่​แข่งขันกัน​แบบ​ไร้สติ ต้อง​การชัยชนะ​เพื่อ​เข้ากุมกล​ไกอำนาจรัฐอย่าง​เมามันคะนอง​ใจ ​โดย​ไม่คำนึง​ถึง​ความ​เป็น​ไป​ได้  กฎหมาย ​ความสัตย์จริง ​และ​ความรับผิดชอบต่อผลกรรมที่ต่อ​เนื่องสู่ประชาชน ​เศรษฐกิจ ​และสังคม​โดยรวม ​หรือที่​เรียกว่า "กรรมร่วม" ​ซึ่งจะตามมาด้วยวิบากกรรมร่วมนั้น ​จึง​เป็นผลพวงที่กำลังจะ​เกิดขึ้น​และ​เป็นชะตากรรมของประ​เทศ​ไทย อัน​เนื่องจากน​โยบายประชานิยม​หรือประชาวิวัฒน์ที่​ไร้สติ กรรมร่วมคืออะ​ไร? ​ในที่นี้ขออธิบาย​เพื่อ​ความ​เด่นชัด​ใน​การวิ​เคราะห์ผลกระทบของกรรมร่วม ทางสังคม จะ​ได้​เห็นมุมมองร่วมกัน ดังนี้
                ความ​เป็นสัตว์สังคม มีมันสมองที่คิด​ได้ สำนึกผิดชอบชั่วดี มนุษย์​จึง​เป็นส่วนหนึ่งของสังคม​แต่หน่วยย่อย ​แต่ละระดับ ​และ​เป็นส่วนหนึ่งของสังคม​โลก กรรม​หรือ​การกระ​ทำของบุคคล​จึงส่งผล​เป็นกรรมร่วมของสังคม​ไป จะ​โดยรู้ตัว​หรือ​ไม่​ก็ตาม ​เช่น ถ้ามนุษย์​แต่ละคนอ้าง​เสรีภาพ​ใน​การ​ทำลายป่า ​หรือพากันลักลอบ​ทำลายป่า ปริมาณกรรมของมนุษย์ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบนิ​เวศ ​การ​ทำลาย​จึงมีลักษณะ​เป็นกรรมร่วม ​และก่อ​ให้​เกิดวิบากกรรมร่วม​ได้ ใครคนหนึ่งมี​เงินทุน​เยอะ ​เป็น​เจ้าของบริษัท​การ​เกษตรขนาด​ใหญ่ ถือครองที่ดินนับ​แสน​ไร่ ​แม้จะอ้างสิทธิตามกฎหมาย​ใน​การลงทุนถูกต้อง​เพียง​ไร​ก็ตาม ​แต่คน​เพียงคน​เดียว​ก็​ได้สร้างผลกรรมที่​เป็นกรรมร่วมของสังคม​ใน​การ ผลิตพืชผลมหาศาล​ให้สังคม ขณะ​เดียวกันยังส่งผล​เป็นวิบากกรรมร่วมต่อ​เกษตรกร​ในบริ​เวณนั้น ​ทำ​ให้​เขา​แข่งขันทาง​การตลาด​ไม่​ได้ ความ​เป็นสาธารณะ ​หรือบุคคลสาธารณะ ​ไม่ว่าจะ​เป็นนัก​การ​เมือง  นักวิชา​การ พระภิกษุ ศิลปิน ข้าราช​การ ​ผู้นำ​ในสาขาวิชาชีพต่างๆ บทบาทหน้าที่ ระดับตำ​แหน่ง ​ความศรัทธา​เชื่อถือของบุคคล ล้วนส่งผลกระทบกระ​เทือน​เป็นกรรมร่วมทางสังคม ​เช่น นายกรัฐมนตรีบริหารผิดพลาด ตำ​แหน่งนี้​จึง​เป็นกรรมร่วมที่ส่งผลต่อสาธารณชน​หรือบ้าน​เมืองสูงกว่า ส.ส. ​ผู้ว่าราช​การ นายก อบต. ​หรือ​ผู้นำชุมชน ​และถ้า​เป็น​ไป​ในทาง​ไม่ดีกรรมชั่ว ผลจะกลาย​เป็นวิบากกรรมร่วมของประ​เทศ​ได้​หรือ​ไม่ ล้วนขึ้นอยู่กับว่ากรรมนั้น​เป็นอะ​ไร  อย่าง​ไร ​และลักษณะผลกระทบนั้น​เฉพาะ​หรือทั่ว​ไป​ทั้งประ​เทศ
ตัวอย่าง นักธุรกิจคนหนึ่ง​ในประ​เทศหนึ่ง อาศัย​ความฉลาด​และ​เล่ห์​เหลี่ยมสร้าง​ความร่ำรวยขึ้น​ได้ ต่อมา​ใช้อำนาจ​เงิน​เข้า​เล่น​การ​เมือง กลาย​เป็นรัฐมนตรีที่​เป็นบุคคลสาธารณะ​และกุมอำนาจรัฐ​ไว้​ในมือ ​หรือช่วงของชีวิต ​เขาสามารถสร้าง​ความมั่งคั่ง​โดยติดสินบนนายทหารยุครัฐประหาร​เพื่อขอ สัมปทานดาว​เทียมมา​ทำธุรกิจ​โทรคมนาคมจนร่ำรวยมหาศาล ​ทั้งสร้างวิบากกรรมร่วม​แก่ประชาชนจน​เกิดวิกฤติ​เศรษฐกิจ จาก​การ​เ​ก็งค่า​เงิน​โดยสมคบกับรัฐบาลปล่อยค่า​เงินลอยตัว จนส่งผล​ให้​เกิดวิบากกรรม​แก่ธุรกิจอื่น มากมายล้มระ​เนระนาด  ​แล้ว​ใช้ธนาธิป​ไตยทุ่ม​ใน​การสร้างพรรค ​การ​เมือง​และลง​การ​เลือกตั้ง จน​ได้​เป็นนายกรัฐมนตรีที่คอรัปชั่นที่สุดจาก​โครง​การ​ใหญ่ของรัฐมากมาย ​การ​ให้สัมปทาน​แก่​เครือข่ายธุรกิจ​การ​เมือง ​และ​การคอรัปชั่น​เชิงน​โยบาย ผลกรรมร่วมที่ก่อขึ้น ​ทำ​ให้นักวิชา​การ สื่อมวลชน ​และชนชั้นกลางลุกขึ้นมาคัดค้านขับ​ไล่ ​เขา​ก็พยายาม​ใช้กล​ไกอำนาจรัฐทุกวิถีทาง​เพื่อจะรักษาอำนาจของตน​ไว้ ด้วย​เผด็จ​การรัฐสภา​และครอบงำสื่อ ปลุกกระ​แสคนชนบทขึ้นมา​โดย​การ​ให้ข่าวสาร​เท็จ จนสร้าง​ความ​แตก​แยก​ในบ้าน​เมืองอย่างหนัก กระทั่งกลาย​เป็นวิบากกรรมทาง​ความคิดขัด​แย้ง​แยกขั้วที่อาศัย​ความรุน​แรง ​ทำร้ายกัน ​และ​เกิดวิกฤติ​การ​เมืองต่อ​เนื่องยาวนาน นี่คือคำอธิบายว่ากรรมของบุคคลสาธารณะ​เป็นกรรมร่วมทางสังคมรูป​แบบหนึ่ง
หลักกรรมร่วมทาง​การ​เมือง​จึง​เป็นสา​เหตุสำคัญที่ส่งผล​เป็นวิบากกรรม ประชาธิป​ไตย นั่นคือ สังคม​ไทย​ไม่สามารถพัฒนา​และสร้างสำนึกประชาธิป​ไตยที่​แท้จริงขึ้นมา​ได้ ​แม้​เวลาผ่าน​ไป​เกือบ 80 ปีหลัง​เปลี่ยน​แปลง​การปกครอง 2475 จากนัก​การ​เมืองฉ้อฉล​ไร้สำนึก ระบอบประชาธิป​ไตย​ไทย​จึงตกอยู่​ในวงจรอุบาทว์  ​ได้​แก่ มี​การ​เลือกตั้ง จัดตั้งรัฐบาลที่มักคอรัปชั่น​หรือบ้าอำนาจ  ​แล้ว​เป็น​เหตุ​ให้รัฐประหาร  จากนั้น​ก็ร่างรัฐธรรมนูญ จัด​ให้มี​การ​เลือกตั้ง ​ได้รัฐบาลที่สร้างปัญหา นำ​ไปสู่​การรัฐประหาร​โดยทหารอย่าง​ไม่สิ้นสุด หลักกรรมร่วม​และวิบากกรรมร่วมนี้ ​เมื่อนำมาวิ​เคราะห์สถาน​การณ์​การ​เมืองปัจจุบัน หลังจาก​การ​เลือกตั้ง 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา พรรค​เพื่อ​ไทย​ได้ชัยชนะ​เป็นพรรค​เสียงข้างมาก ​ซึ่งกำลังรวบรวมพรรค​เล็กพรรคน้อยจัดตั้งรัฐบาลร่วม 299 ​หรืออาจจะ 300 คนดัง​เป็นข่าวมา​แล้ว ดังนั้น กรรมร่วมของ​การ​เมือง​หรือสังคม​ไทย​จึงขึ้นอยู่กับรัฐบาล​ใหม่ คณะรัฐมนตรี​ทั้งชุด ​และรวมศูนย์ที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี  ​ผู้​เป็น​โคลนนิงของ น.ช.ทักษิณ ชินวัตร ​และ​การปฏิบัติตามน​โยบายที่หา​เสียง​เป็นสัญญาประชาคม
                แต่หลัง​เลือกตั้ง บรรดานักวิชา​การ สื่อมวลชน ​และภาคธุรกิจ ต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์ผลกระทบของน​โยบายประชานิยมพรรค​เพื่อ​ ไทยอย่างกว้างขวาง ​ถึงชัยชนะที่​ได้มาจาก​การหว่านน​โยบายประชานิยมอย่าง​ไร้สติ ​ไม่มี​ความรับผิดชอบต่อผลที่จะ​เป็นกรรมร่วม ​หรือคำนึง​ถึง​การปฏิบัติน​โยบายประชานิยมนั้น หากส่งผลกระทบต่อสังคม ​และ​ทำ​ให้​เกิดภัยพิบัติทาง​เศรษฐกิจ สังคม ​และดิน​แดน สังคม​ไทยควรที่จะยินยอม​ให้รัฐบาล​ใหม่ดำ​เนินน​โยบาย​เหล่านั้น​หรือ​ไม่  ตัวอย่าง​เช่น
น​โยบายรับจำนำข้าว​เกวียนละ 15,000 บาท ​หรือ 20,000 บาทต่อตัน  จาก​เดิมที่ประกันราคาราว 8,000 บาท ผลที่​เกิดขึ้น​ก็คือ ชาวนาส่วนหนึ่ง​ได้รับผลดี ​เป็นกรรมร่วม​เฉพาะกลุ่มอาชีพ ​แต่วิบากกรรมที่ห่วงกังวลกัน ​ได้​แก่  วิบากกรรมต่อคน​ทั้งประ​เทศ ​เนื่องจากจะ​ทำ​ให้ราคาข้าวสารสูงขึ้น​เป็น​เท่าตัว จากถุงละ 5 กิ​โลกรัม ราคาประมาณ 120-185 บาท ​เพิ่มขึ้น​เป็นกว่า 200-300 บาท ​หรือที่มี​การประ​เมินขั้นต้นว่าราคาข้าวสารจะสูงขึ้น​ไม่น้อยกว่า 60 ​เปอร์​เซ็นต์ ​โดยก่อ​ให้​เกิดภาระหนัก​แก่ประชาชน ​โดย​เฉพาะคนยากคนจน คน​ไทยควรที่จะยอมรับน​โยบายประชานิยมนี้​หรือ​ไม่
น​โยบายสร้าง​เมือง​ใหม่ ​โดยถมทะ​เลบริ​เวณปากน้ำ จ.สมุทร ปรา​การ ​ไป​ถึงสมุทรสาคร ​เป็นพื้นที่ประมาณ 3 ​แสน​ไร่ ออก​ไปประมาณ 10 กิ​โล​เมตร ​เพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุง​เทพฯ ​และ​เขตสี​เขียว ​ใช้งบประมาณมาก​ถึง 2 ล้านล้านบาท  ​โดย​เอกชนที่จะ​เข้าร่วมถมทะ​เลกะจะฟันกำ​ไร​ถึง​ไร่ละ 20 ล้านบาท ​และ​ไม่คำนึง​ถึงผลกระทบระบบนิ​เวศทางทะ​เล​และ​การขนดินทรายทั่วประ​เทศมา ถมสร้าง​เมือง​ใหม่ ส่งผลอย่าง​ใหญ่หลวงต่อ​แหล่งอาหาร (ปลา) ​ในอ่าว​ไทยยับ​เยิน
                ทั้ง​เป็นน​โยบาย​เกิน​ความ​เป็นจริง ​ซึ่งประ​เทศ​ไทย​ไม่​ใช่​เป็น ​เกาะที่ขาดที่ดินอยู่อาศัย มัน​เกิดจาก​ความคิดนัก​โทษสติ​แตกคนหนึ่ง​เสนออย่าง​ไร้​เหตุผล ชนิดคิดบ้าๆ ตามรัฐบาลดู​ไบ ​หรือสิงค​โปร์ที่​ไม่มีที่ดิน​เพียงพอ (​ไทยมีที่ดินมหาศาล) ​เพื่อผลาญ​เงิน​เล่น ​หรือหา​เงิน​เข้ากระ​เป๋าหวัง​โกงกินอภิมหา​โปร​เจ็กต์  ​ทั้งที่รู้ว่า​เมืองดู​ไบ​เวิลด์ที่ถมนั้นทรุดตัวลงจน​เป็นปัญหามากมาย​ใน ปัจจุบันนี้
น​โยบายถมทะ​เลสร้าง​เมือง​ใหม่ ​โดย​ไม่คำนึง​ถึงผลกระทบต่อระบบนิ​เวศ​ทั้งบนบก​และทะ​เลอย่างยับ​เยิน ​เป็นวิบากกรรม​ใหญ่หลวงมากกว่า​การ​เสนอขุดคอคอดกระ​ในอดีต ​ซึ่งนักวิชา​การ​เคยคัดค้าน​โดยอ้างผล​การศึกษาว่า หากรัฐบาลสมัยนั้นขุดคอคอดกระ จะมีผลต่อกระ​แสน้ำ​ในอ่าว​ไทยที่​เปลี่ยน​และกระทบกลับ​ไปยัง​แผ่นดินบริ​ เวณชายฝั่งสงขลา กัด​เซาะ​แผ่นดินสูญ​เสีย​ไปอย่าง​ใหญ่หลวงบางส่วน รัฐบาลสมัยนั้น​จึงยับยั้ง​โครง​การนี้​ไป จน​ไม่คาดคิดว่าหลายสิบปีต่อมา พรรค​เพื่อ​ไทยกลับบังอาจ​เสนอน​โยบาย​การถมทะ​เลจากฝั่ง 10 กิ​โล​เมตร อย่างขาดสำนึกรับผิดชอบว่าจะ​ทำ​ให้​แผ่นดินสูญหาย​ไป​เพียง​ไร ​หรือนิ​เวศอาหารทะ​เลจะวิบัติกลาย​เป็นวิบากกรรมร่วมของคนชายฝั่ง​และ ประชาชน​เพียง​ใด​ในอนาคต
น​โยบาย​เลือกที่รัก​หรือ​เลือกซื้อ​เสียง​เฉพาะกลุ่ม จาก​การกำหนด​เงิน​เดือน​ผู้จบ​การศึกษาปริญญาตรี 15,000 บาท ​โดย​ไม่คำนึง​ถึง​ผู้จบปริญญา​โท​และ​เอก  ​ซึ่งอัตรา​เงิน​เดือนปริญญา​โทจะน้อยกว่า ​หรือ​ใกล้​เคียงกับ 15,000 บาท ​และ​ไม่ต่ำกว่าปริญญา​เอกมากนัก จะ​เป็น​การสร้างวิบากกรรม​และย่ำ​เหยียบ​ผู้มี​ความรู้ที่สูงกว่า​ในระดับ ปริญญา​โท​และ​เอก ​ทั้งยัง​เป็น​เงิน​เดือนที่กำหนดขึ้นอย่าง​ไม่ชอบธรรม​และคุณภาพสูงลิ่ว​ เมื่อ​เปรียบ​เทียบกับปริญญา​โท-​เอก ผล​ทำ​ให้​โครงสร้าง​เงิน​เดือนของประ​เทศป่วน
ขณะนี้มีข่าวว่าหากรัฐบาล​ใหม่​ใช้น​โยบายนี้จริง รัฐบาล​ใหม่​ก็จะถูกฟ้องศาลจาก​ผู้จบ​การศึกษาที่สูงกว่า ​หรือจะส่งผล​ให้​ผู้จบ​การศึกษาปริญญาตรีตกงาน ​เมื่อ​ผู้ประกอบ​การหันกลับ​ไปรับ ปวส. ​หรือปริญญา​โท​แทน วิบากกรรม​ก็จะ​เกิด​แก่ปริญญาตรีนั่น​เอง ​และประชาชนทั่ว​ไปจะพบปัญหาสินค้าราคา​แพง ​เมื่อต้นทุน​การผลิตภาคธุรกิจสูงตาม ​เช่น​เดียวกับน​โยบายขึ้นค่า​แรงขั้นต่ำ 300 บาท ​ทำ​ให้ภาคธุรกิจต้นทุนสูงมาก ​และ​เท่ากับ​เป็นน​โยบายที่บีบบังคับ​หรือ​เผด็จ​การ​ให้ภาคธุรกิจ​เจ๊ง พร้อมกับ​เกิดภาวะ​เงิน​เฟ้ออย่างรุน​แรง ค่าครองชีพพุ่งลิ่ว ​และ​ทำ​ให้​โครงสร้าง​เศรษฐกิจ​ไทยล้มครืนลง
คงจะ​เห็นว่า น​โยบายประชานิยมของพรรค​เพื่อ​ไทย​ในลักษณะนี้ ชักจูง​ให้ประชาชนส่วน​ใหญ่ลงคะ​แนน​เสียง​ให้อย่างท่วมท้น ​เนื่องจากปัญหา​ความคิดของประชาชนที่มองปัญหา​เฉพาะหน้า​ใกล้ตัว ขาด​ความลุ่มลึกตระหนัก​ถึงกรรมร่วมระยะยาว ขณะที่นัก​การ​เมือง​เห็น​แก่ตัวอย่างร้ายกาจ ชูน​โยบายประชานิยมอย่าง​ไร้​ความรับผิดชอบ คิดสั้น​เพื่อ​ให้พรรค​ได้รับชัยชนะ ดังนั้น ​ในมุมมองกรรมร่วม​และวิบากกรรมร่วม หากรัฐบาล​ใหม่​เพื่อ​ไทยยังดื้อรั้น​เข็นน​โยบายต่อ​ไป  ผล​เท่ากับว่า พรรค​เพื่อ​ไทย​เนรคุณ ​ทำลาย​ผู้สนับสนุน​เลือกตน​ให้ประสบวิบากกรรมร่วม​ให้ยากลำบาก ​และอาจ​ถึง​ทำ​ให้​เศรษฐกิจของชาติล่มจม​ได้
จะ​แก้​ไขปัญหากรรมร่วมจากน​โยบายประชานิยมที่​ไร้สติอย่าง​ไร? นักวิชา​การ ภาคธุรกิจ ​และประชาชนมีสิทธิ์ที่จะประ​เมินผลกระทบ ​และ​เสนอทาง​เลือกดังต่อ​ไปนี้
1.​เมื่อ​เห็นภัยจากน​โยบายจะส่งผล​ให้​เกิดวิบากกรรมร่วมที่ หนักหนาสากรรจ์ ​หรือ​ไม่อาจจะ​เสี่ยงภัย​ได้จาก​การยินยอม​ให้รัฐ บาล​ใหม่ดำ​เนิน​การต่อ​ไป  ประชาชน​และภาคธุรกิจ​ก็มีสิทธิที่จะปก ป้องตน​เอง ด้วย​การปฏิ​เสธน​โยบาย​เหล่านั้น
2.รัฐบาล​ใหม่จะต้องประกาศ​ให้ชัด​เจน​ถึง​ความรับผิดชอบที่จะนำชาติ​ไป​ เสี่ยงภัยจาก​ความดื้อรั้น​ใน​การปฏิบัติน​โยบาย​เหล่านี้ ​หรือยอมรับ​ความผิดพลาดจาก​การ​เสนอน​โยบายนั้นๆ ด้วย​การยุบสภา​ให้มี​การ​เลือกตั้ง​ใหม่หลังจากจัดตั้งรัฐบาล​แล้วทันที ​เพื่อ​ให้ประชาชน​เลือกน​โยบายที่จริง​ใจ​และปฏิบัติ​ได้จริง
3.ประชาชน​เคลื่อน​ไหวทาง​การ​เมือง ​ไม่ยินยอม​ให้พรรค​การ ​เมืองที่กำหนดน​โยบายประชานิยม​เสี่ยงภัย​และ​ไม่​เป็นธรรม มี​โอ กาสจัดตั้งรัฐบาล​ได้​เลย
ปัญหา​การต่อ​เนื่องของกรรมร่วมจากน​โยบายประชานิยมที่​เสี่ยงภัย ยังก่อ​ให้​เกิด​ความคิด​ในหมู่ประชาชน 2 ด้าน ประ​การ​แรก​ก็คือ น่าจะ​ให้​โอกาสพรรค​เพื่อ​ไทยจัดตั้งรัฐบาล ​แล้วฟังทัศนะว่าจะ​แก้​ไขปัญหาอย่าง​ไร กับอีกด้านหนึ่ง ​เสนอว่า​ไม่ควรยินยอม​ให้พรรค​เพื่อ​ไทย​เสี่ยงภัย ประชาชนควร​เข้ามา​แก้​ไขปัญหานี้ ​หรือ​เรียกร้อง​ให้พรรคที่​ไม่มีน​โยบายประชานิยม​แบบ​เสี่ยงภัย​ทั้งหมด รวมตัวกันจัดตั้งรัฐบาล​แทน.
จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่า การเข้ามาของแนวคิดประชานิยม ได้เปลี่ยนรูปแบบของวิถีชีวิตของสังคมไทยจากความพอเพียง วิถีชีวิตที่เรียบง่าย ความถ้อยทีถ้อยอาศัย กลับกลายเป็นชีวิตที่ไม่รู้จักพอ เพียงเพื่อให้ตนเองได้มีในสิ่งที่นโยบายสนองตอบให้ เพียงเพื่อให้ตนได้อยู่อย่างสุขสบายโดยไม่ต้องเหนื่อย แต่สิ่งที่ตามมาก็คือการเสพติดประชานิยมของประชาชนนำไปสู่การรับเอาแนวคิดบริโภคนิยมมาใช้ในการดำเนินชีวิต แนวคิดเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงภาพของสังคมที่เปลี่ยนไปในมุมมองที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ทุกคนในสังคมยอมทำทุกสิ่งเพื่อเงิน แม้แต่การขายเสียง ซึ่งต่อมาแนวคิดที่ถูกนำมาใช้ในการหาเสียง ก็จะเปลี่ยนรูปร่างไปในแนวทางที่เน้นประชานิยมมากขึ้น เพื่อทำให้ประชาชนพึ่งพอใจ นำไปสู่การสร้างนโยบายที่หวังเอาใจชนชั้นที่เป็นเป้าหมายและหาผลประโยชน์จากชัยชนะนั้นอย่างเต็มที่ ซึ่งแม้ว่านโยบายที่เกิดขึ้นจากการลงคะแนนเสียงจะสามารถสร้างความพึงพอใจให้ในระยะแรก หากแต่งบประมาณมหาศาลในแต่ละโครงการส่งผลกระทบถึงปริมาณหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น มันจะมีผลต่อลูกหลานของเราในอนาคตท่าหาก เงินพวกนี้งอกเงยมากๆ ฐานะทางเศรษฐกิจของเราก็คงล้มลงเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆที่นำประชานิยมไปใช้ ซึ่งเมื่อคนไทยถูกครอบงำด้วยแนวคิดนี้มากผลที่ตามมาก็คือ
ช่องว่างที่แตกต่างของชนชั้นต่างๆในสังคมจะสูงขึ้น เนื่องมาจากโครงสร้างในการเข้าถึงรายได้ที่ไม่เป็นธรรมรวมถึงภาระทางด้านภาษีและหนี้สาธารณะที่ถูกผลักให้กับคนกลุ่มนี้ จะยิ่งสร้างช่องว่างที่สูงขึ้น ซึ่งแม้ว่าประชาชนจะรู้สึกว่ามีเงินในกระเป๋ามากหากแต่เงินเหล่านี้คือเงินในอนาคตที่พวกเขาไม่เคยตระหนักถึงเลยนั่นเอง
เมื่อนโยบายเหล่านี้ถูกใช้ไปในระยะหนึ่ง ประชากรบางส่วนจะเริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อและการใช้จ่ายที่เกินตัวของรัฐบาล นำไปสู่ปัญหาหนี้สิน การก่ออาชญากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลักวิ่งชิงปล้นจะมากขึ้น การฆ่ายาเสพติดจะสูงขึ้น การขายบริการทางเพศจะมากขึ้นอีก  ศีลธรรมจะเสื่อมทรามลงตามไปกับวิกฤตนี้ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก ลัทธิ บริโภคนิยมที่เงินเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ที่ทำให้ทุกคนมองข้ามคุณค่าของความเป็นคนเพื่อให้ได้มาซึ่ง เงิน ซึ่งเมื่อวันหนึ่งที่เกิดวิกฤตเช่นเดียวกับกรีซละอาร์เจนตินา สิ่งหนึ่งที่จะตามมาก็คือ การเสื่อมถอยของความเป็นชาติ อันเนื่องมาจากภาวการณ์ขาดแคลนและความจำเป็นอาจทำให้ประชาชนจะต้องแข่งขันและแสวงหาในสิ่งซึ่งสำคัญกับการดำรงชีวิต แม้ว่าจะต้องยอมขายความเป็นชาติของตน ให้กลุ่มทุนทางวัฒนธรรมของต่างชาติเข้ามาครอบงำและถ่ายทอดชุดความคิดที่เป็นประโยชน์แก่ตนเพื่อแสวงประโยชน์จากวิกฤตของชาติได้เช่นกัน
อาจสรุปผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินนโยบายประชานิยม ทั้งที่เป็นผลกระทบทางเศรษฐ กิจ ทางสังคม/วัฒนธรรม และทางการเมืองว่า จะทำให้ประชาชนมีหนี้สินเพิ่มขึ้น ไม่สามารถหลุดพ้นวงจรหนี้สิน นั่นคือไม่อาจหลุดพ้นจากความยากจนได้ การบริโภคมากมีส่วนทำให้กลุ่มธุรกิจที่สนับสนุนรัฐบาล มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลมั่นคง และประชาชนก็ต้องขึ้นต่อรัฐบาลในรูปแบบของความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กับทุนนิยม ประชาชนจึงไม่มีอำนาจที่แท้จริง

เอกสารอ้างอิง

ผลกระทบของนโยบายประชานิยมในรัฐบาลทักษิณที่มีต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม



1.เน้นสร้างความเจริญเติบโตในระยะสั้นที่ไม่ยั่งยืน
2. การลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้น
3. การสร้างภาระหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น
4. มีแนวโน้มทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่
5. การเลิกพึ่งพิงต่างประเทศเป็นไปได้ยาก
ผลกระทบของนโยบายประชานิยมต่อระบบเศรษฐกิจ
1.การเน้นสร้างความเจริญเติบโตในระยะสั้นที่ไม่ยั่งยืน
กราฟเส้นแสดงอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในช่วงปี 2541 - 2546

 
 



         อัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นนั้น แม้ในช่วงตนของรัฐบาลทักษิณ 1 คือตั้งแต่ 2544-2545 นั้น อัตราการเติบโตจะเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 4% แต่ในปี 2546 การเติบโตกับลดลงเหลือเพียง เกือบ 1% เท่านั้น แสดงให้เห็นถึงการเติบโตในระยะสั้นๆที่สูงอย่างก้าวกระโดดเท่านั้น แต่ในระยะยาวไม่ใด้เติบโตอย่างยั่งยืนเช่นกับในช่วงแรก
                                                                                                                  




                    ในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดจากนโยบายลดแลกแจกแถม และก่อหนี้อนาคตดำเนินไปนั้น ทำให้ประชาชนมีการบริโภคที่สูงขึ้นอย่างน่าตกใจเช่นกัน ซึ่งสวนทางกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นของฐานะทางการเงินของกลุ่มมวลชนเป้าหมาย คือ ผู้มีรายได้น้อย ทั้งสิ้น จะเห็นได้จากอัตราการบริโภคที่สูงขึ้นตามกราฟทั้งสาม

ในขณะเดียวกันกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร บางส่วนก็ได้ใช้เม็ดเงินจากนโยบายประชานิยมไปลงทุนในภาคการเกษตร หากแต่ว่าข้อเท็จจริงก็คือ การลงทุนเหล่านี้ขาดทิศทางและกลับสู่วังวนเดิมๆเช่น ภาวะพืชล้นตลาด การถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ภัยธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งแม้ว่าในช่วงแรกของรัฐบาลทักษิณ 1 จะมีการขยายตัวที่สูงแต่เมือพบกับสภาวะที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้การขยายตัวลดลง บางส่วนขาดทุนจนต้องเลิกกิจการและกลายเป็นหนี้เป็นสิน ท้ายที่สุดภาคการเกษตร ก็จะขาดแรงงานอันเนื่องมาจากภาระหนี้สิน ก็จะทำให้คนกลุ่มนี้เดินหน้าเข้าสู่อุตสาหกรรมมากขึ้น
 2.การลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้น
จะเห็นได้ว่าการลงทุนในภาคเอกชนนั้น แม้จะมีนโยบายประชานิยมโดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งที่อยู่ในวัฎจักรของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งจากจุดนี้ทำให้ได้เห็นว่า ไม่ได้เกิดผลต่อการเติบโตของภาคเอกชนโดยเฉพาะกลุ่ม SME เท่าใดนักหากแต่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคและภาระหนี้สินมากกว่าการฟื้นตัวเสียอีก

3.การสร้างภาระหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น
      กราฟเส้นแสดงร้อยละของหนี้สาธารณะต่อ GDP   ในปีพ.ศ. 2544 - 2547
 
 
 หนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของการก่อหนี้ของรัฐบาล เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการดำเนินนโยบายประชานิยม รวมถึงหนี้ของภาคครัวเรือนอันเกิดจากการดำเนินนโยบายประชานิยมของประชาชนนั้น ถือว่าอยู่ในระดับที่สูง เมื่อเทียบกับทั้งรายได้ของรัฐและรายได้ภาคครัวเรือน สิ่งที่น่ากังวลก็คือหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก สะท้อนถึงผลการบริโภคนโยบายประชานิยมของประชาชน นำไปสู่การบริโภคโดยขาดภูมิคุ้มกันที่ดี เพราะง่ายและรวดเร็วตามกลไกที่ถูกกำหนดโดยนโยบายประชานิยมนี่เอง การก่อหนี้สินเช่นนี้ เป็นเหมือนการดึงเอาเงินในอนาคตมาใช้ เพื่อสนองตอบความต้องการทางวัตถุในปัจจุบัน ซึ่งเงินเหล่านี้อยู่บนพื้นฐานของความไม่แน่นอนและความเสี่ยงต่อการสร้างภาวะล้มละลายและก่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เข้าสู่ระบบสถาบันการเงินมากขึ้นไปอีก สิ่งนี้เองจะไปเพิ่มภาระหนี้สาธารณะให้กับรัฐบาลและเป็นภาระกับทั้งภาวะการเงินการคลังทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป

4.มีแนวโน้มทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่
กราฟแสดงการเคลื่อนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ

                การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 จนถึง ไตรมาสที่สองของปี 2545 นั้น สูงขึ้น นั่นก้อเนื่องมาจากเม็ดเงินที่ถูกอัดฉีดเข้าไปจากการใช้นโยบายประชานิยมที่เข้าไปกระตุ้นการบริโภคทำให้ความเชื่อมั่นในระยะสั้นของนักลงทุนสูงขึ้น การลงทุนที่สูงขึ้นทำให้ภาคธุรกิจสามารถระดมทุนในการลงทุนได้มากขึ้น และเติบโตในระยะสั้นอย่างรวดเร็ว หากแต่ในข้อเท็จจริง เมื่อผลของนโยบายเริ่มแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ทำให้เศรษฐกิจถดถอยแล้ว นักลงทุนก็ขาดความเชื่อมั่นในการถือครองหลักทรัพย์ต่างๆทำให้มีการเทขายหลักทรัพย์ในตลาดตั้งในไตรมาสที่สามของปี 2545 เป็นต้นมา ส่งผลต่อการลงทุนและการขยายตัวและการลงทุนของภาคธุรกิจที่เป็นอย่างไร้ทิศทางและไร้ขอบเขต เมื่อมาพบกับการเทขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์อีก ก็ยิ่งทำให้ภาคธุรกิจเหล่านี้ต้องประสบปัญหาภาวะหนี้สินและนำไปสู่ภาวะการล้มละลายและเสื่อมราคาของหลักทรัพย์ต่าง นำไปสู่ภาวะฟองสบู่แตกในที่สุด

 5. การเลิกพึ่งพิงต่างประเทศเป็นไปได้ยาก


ในเมื่อหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นก็จะกระทบถึงนโยบายการเงินของรัฐบาล ในการใช้จ่ายงบประมาณดังนั้น แนวทางในการเพิ่มมูลค่าการส่งออก โดยใช้นโยบายการคลังย่อมจะเป็นหนทางที่รัฐบาลจะเลือกใช้ ดังนั้นมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นก็จะเป็นปัญหาต่อโครงสร้างเศรษฐกิจในอนาคตที่จะต้องพึ่งพาต่างประเทศอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งทำให้เศรษฐกิจของไทยจะอ่อนไหวไปตามภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ถือว่าเสี่ยงต่อการประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในรอบต่อๆไปจากจุดนี้เอง

เอกสารอ้างอิง
http://www.kpi.ac.th/kpith/pdf/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93%E0%B8%B2%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1.pdf
piyapongpom.blogspot.com/2011/07/blog-post.html
www.polsci.chula.ac.th%2Fweerasak%2Fdata%2FFMP%2F%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25A1.ppt&ei=wwrwTo29E8PwrQex5cH9Dw&usg=AFQjCNG_HYGbRe96fpxDhOiYLRGb8GQMvQ&sig2=5RetC45KfHralQxv0zIvqw&cad=rja