วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผลกระทบของนโยบายประชานิยมในรัฐบาลทักษิณที่มีต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม



1.เน้นสร้างความเจริญเติบโตในระยะสั้นที่ไม่ยั่งยืน
2. การลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้น
3. การสร้างภาระหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น
4. มีแนวโน้มทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่
5. การเลิกพึ่งพิงต่างประเทศเป็นไปได้ยาก
ผลกระทบของนโยบายประชานิยมต่อระบบเศรษฐกิจ
1.การเน้นสร้างความเจริญเติบโตในระยะสั้นที่ไม่ยั่งยืน
กราฟเส้นแสดงอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในช่วงปี 2541 - 2546

 
 



         อัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นนั้น แม้ในช่วงตนของรัฐบาลทักษิณ 1 คือตั้งแต่ 2544-2545 นั้น อัตราการเติบโตจะเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 4% แต่ในปี 2546 การเติบโตกับลดลงเหลือเพียง เกือบ 1% เท่านั้น แสดงให้เห็นถึงการเติบโตในระยะสั้นๆที่สูงอย่างก้าวกระโดดเท่านั้น แต่ในระยะยาวไม่ใด้เติบโตอย่างยั่งยืนเช่นกับในช่วงแรก
                                                                                                                  




                    ในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดจากนโยบายลดแลกแจกแถม และก่อหนี้อนาคตดำเนินไปนั้น ทำให้ประชาชนมีการบริโภคที่สูงขึ้นอย่างน่าตกใจเช่นกัน ซึ่งสวนทางกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นของฐานะทางการเงินของกลุ่มมวลชนเป้าหมาย คือ ผู้มีรายได้น้อย ทั้งสิ้น จะเห็นได้จากอัตราการบริโภคที่สูงขึ้นตามกราฟทั้งสาม

ในขณะเดียวกันกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร บางส่วนก็ได้ใช้เม็ดเงินจากนโยบายประชานิยมไปลงทุนในภาคการเกษตร หากแต่ว่าข้อเท็จจริงก็คือ การลงทุนเหล่านี้ขาดทิศทางและกลับสู่วังวนเดิมๆเช่น ภาวะพืชล้นตลาด การถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ภัยธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งแม้ว่าในช่วงแรกของรัฐบาลทักษิณ 1 จะมีการขยายตัวที่สูงแต่เมือพบกับสภาวะที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้การขยายตัวลดลง บางส่วนขาดทุนจนต้องเลิกกิจการและกลายเป็นหนี้เป็นสิน ท้ายที่สุดภาคการเกษตร ก็จะขาดแรงงานอันเนื่องมาจากภาระหนี้สิน ก็จะทำให้คนกลุ่มนี้เดินหน้าเข้าสู่อุตสาหกรรมมากขึ้น
 2.การลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้น
จะเห็นได้ว่าการลงทุนในภาคเอกชนนั้น แม้จะมีนโยบายประชานิยมโดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งที่อยู่ในวัฎจักรของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งจากจุดนี้ทำให้ได้เห็นว่า ไม่ได้เกิดผลต่อการเติบโตของภาคเอกชนโดยเฉพาะกลุ่ม SME เท่าใดนักหากแต่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคและภาระหนี้สินมากกว่าการฟื้นตัวเสียอีก

3.การสร้างภาระหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น
      กราฟเส้นแสดงร้อยละของหนี้สาธารณะต่อ GDP   ในปีพ.ศ. 2544 - 2547
 
 
 หนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของการก่อหนี้ของรัฐบาล เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการดำเนินนโยบายประชานิยม รวมถึงหนี้ของภาคครัวเรือนอันเกิดจากการดำเนินนโยบายประชานิยมของประชาชนนั้น ถือว่าอยู่ในระดับที่สูง เมื่อเทียบกับทั้งรายได้ของรัฐและรายได้ภาคครัวเรือน สิ่งที่น่ากังวลก็คือหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก สะท้อนถึงผลการบริโภคนโยบายประชานิยมของประชาชน นำไปสู่การบริโภคโดยขาดภูมิคุ้มกันที่ดี เพราะง่ายและรวดเร็วตามกลไกที่ถูกกำหนดโดยนโยบายประชานิยมนี่เอง การก่อหนี้สินเช่นนี้ เป็นเหมือนการดึงเอาเงินในอนาคตมาใช้ เพื่อสนองตอบความต้องการทางวัตถุในปัจจุบัน ซึ่งเงินเหล่านี้อยู่บนพื้นฐานของความไม่แน่นอนและความเสี่ยงต่อการสร้างภาวะล้มละลายและก่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เข้าสู่ระบบสถาบันการเงินมากขึ้นไปอีก สิ่งนี้เองจะไปเพิ่มภาระหนี้สาธารณะให้กับรัฐบาลและเป็นภาระกับทั้งภาวะการเงินการคลังทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป

4.มีแนวโน้มทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่
กราฟแสดงการเคลื่อนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ

                การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 จนถึง ไตรมาสที่สองของปี 2545 นั้น สูงขึ้น นั่นก้อเนื่องมาจากเม็ดเงินที่ถูกอัดฉีดเข้าไปจากการใช้นโยบายประชานิยมที่เข้าไปกระตุ้นการบริโภคทำให้ความเชื่อมั่นในระยะสั้นของนักลงทุนสูงขึ้น การลงทุนที่สูงขึ้นทำให้ภาคธุรกิจสามารถระดมทุนในการลงทุนได้มากขึ้น และเติบโตในระยะสั้นอย่างรวดเร็ว หากแต่ในข้อเท็จจริง เมื่อผลของนโยบายเริ่มแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ทำให้เศรษฐกิจถดถอยแล้ว นักลงทุนก็ขาดความเชื่อมั่นในการถือครองหลักทรัพย์ต่างๆทำให้มีการเทขายหลักทรัพย์ในตลาดตั้งในไตรมาสที่สามของปี 2545 เป็นต้นมา ส่งผลต่อการลงทุนและการขยายตัวและการลงทุนของภาคธุรกิจที่เป็นอย่างไร้ทิศทางและไร้ขอบเขต เมื่อมาพบกับการเทขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์อีก ก็ยิ่งทำให้ภาคธุรกิจเหล่านี้ต้องประสบปัญหาภาวะหนี้สินและนำไปสู่ภาวะการล้มละลายและเสื่อมราคาของหลักทรัพย์ต่าง นำไปสู่ภาวะฟองสบู่แตกในที่สุด

 5. การเลิกพึ่งพิงต่างประเทศเป็นไปได้ยาก


ในเมื่อหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นก็จะกระทบถึงนโยบายการเงินของรัฐบาล ในการใช้จ่ายงบประมาณดังนั้น แนวทางในการเพิ่มมูลค่าการส่งออก โดยใช้นโยบายการคลังย่อมจะเป็นหนทางที่รัฐบาลจะเลือกใช้ ดังนั้นมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นก็จะเป็นปัญหาต่อโครงสร้างเศรษฐกิจในอนาคตที่จะต้องพึ่งพาต่างประเทศอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งทำให้เศรษฐกิจของไทยจะอ่อนไหวไปตามภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ถือว่าเสี่ยงต่อการประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในรอบต่อๆไปจากจุดนี้เอง

เอกสารอ้างอิง
http://www.kpi.ac.th/kpith/pdf/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93%E0%B8%B2%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1.pdf
piyapongpom.blogspot.com/2011/07/blog-post.html
www.polsci.chula.ac.th%2Fweerasak%2Fdata%2FFMP%2F%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25A1.ppt&ei=wwrwTo29E8PwrQex5cH9Dw&usg=AFQjCNG_HYGbRe96fpxDhOiYLRGb8GQMvQ&sig2=5RetC45KfHralQxv0zIvqw&cad=rja

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ12 มกราคม 2563 เวลา 23:51

    ฉันรู้สึกขอบคุณ Elegantloan ที่ได้ให้ความช่วยเหลือฉันในการขอสินเชื่อ $ 600,000.00 โดยช่วยเจ้าหน้าที่สินเชื่อ Ross Harry และฉันขอบคุณคุณตลอดไป ชีวิตของฉันเปลี่ยนไปเงินของฉันได้ชำระแล้วตอนนี้ฉันเป็นเจ้าของธุรกิจการค้าที่ฉันเคยดูแลความต้องการของครอบครัว ฉันรู้สึกขอบคุณคุณนายรัสและพระเจ้าอวยพรคุณ คุณสามารถติดต่อพวกเขาเพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงินผ่านทางอีเมล: Elegantloanfirm@hotmail.com เพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงินของคุณ

    ตอบลบ